พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาเป็นเวลานาน ชาวไทยทุกคนต่างมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยชาวไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นศาสนาประจำชาติ พระพุทธศาสนาได้ความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติไทยมาช้านาน ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้พระพุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนไทย และเป็นบ่อเกิดขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของชาวไทย พระพุทธศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจอย่างแน่นแฟ้นของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
ในสมัยพุทธกาลนั้น จากการศึกษาค้นคว้าแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แล้ว ปรากฏว่าไม่มีการสร้างปราสาทศพที่เป็นหลักฐานปรากฏเหมือนเช่นสมัยพุทธกาล จะมีก็แต่เพียงการจัดการงานศพตามธรรมเนียมประเพณีของคนอินเดียสมัยนั้นเท่านั้น ซึ่งพิธีการจัดการศพมีเพียง การจัดศพ และการทิ้งศพ ส่วนการฝังศพมีน้อย ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในลักษณะพิธีกรรมงานศพในสมัยพุทธกาลดังต่อไปนี้
1. พิธีกรรมงานศพของคนชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้น ตามคัมภีร์ที่ปรากฏไม่มีขั้นตอนของพิธีกรรมที่ละเอียดมากนัก คงมีแต่พิธีกรรมถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้กล่าวไว้ในมหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น ที่มีการกล่าวถึงขั้นตอน ได้อย่างละเอียด ตั้งแต่พิธีกรรมก่อนถวายพระเพลิง จนกระทั่งถึงพิธีกรรม หลังจากการถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว พิธีกรรมงานศพที่นอกเหนือจากพิธีกรรมถวายพระเพลิงพระบรมศพพอมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาบ้าง
2. พิธีกรรมงานศพสมัยพุทธกาลดังกล่าวนั้น มักจะจัดการศพโดยการเผา แต่ยังมีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาบางแห่งที่มีการจัดการกับผู้ตายด้วยการฝังศพ ซึ่งการจัดการกับศพในลักษณะนี้ไม่ได้กล่าวถึงขึ้นตอนของพิธีกรรม เพียงแต่กล่าวถึงการนาศพไปทิ้ง หรือไปฝังเท่านั้น ดังกรณีบุตรของนางกิสาโคตรมีตาย นางอุ้มร่างบุตรไปถามหายาเพื่อรักษา บุรุษคนหนึ่ง แนะนาให้ไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแนะนา ให้นางไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาด จากเรือนของคน ที่ไม่มีใครเลยตาย นางเที่ยวตระเวนถามหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้น ผลสุดท้ายก็หาไม่ได้ดังใจปรารถนา นางจึงทิ้งศพของบุตรไว้ในป่า เสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า