การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเดิม จะทำให้เราได้ทราบถึงประวัติศาสตร์กฎหมายของชาติไทยในอดีต ได้เห็นถึงคุณค่าของกฎหมายไทยเดิม ซึ่งนำหลักธรรมมาอธิบายทฤษฎีกฎหมายส่วนการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยสมัยใหม่จำทำให้เราทราบถึงประวัติความเป็นมาของการรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตก ซึ่งจะทำให้ทราบถึงภูมิหลังของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยสภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตตามลำพังได้ด้วยเหตุผลทางกายภาพมนุษย์เป็นสัตว์ที่อ่อนแอมาแต่กำเนิด ย่อมอยู่รอดได้ด้วยการปกป้องคุ้มคอง และเลี้ยงดูเท่านั้น ไม่เช่นนั้นมนุษย์ขณะเป็นทารกไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์ในการปกป้องคุ้มครองมนุษย์ ไม่ให้ผู้อ่อนแอ ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ที่มีอำนาจ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะในลักษณะที่ถาวรก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติกันในสังคมนั้นๆเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุข กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่างก็มีลักษณะบังคับให้คนในสังคมนั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม
ประวัติศาสตร์กฎหมาย หมายถึง วิวัฒนาการของแนวความคิด หลักเกณฑ์ความประพฤติ และกฎเกณฑ์ต่างๆที่มนุษย์ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยต้องแปลความามเวลาและสถานการณ์ในขณะนั้น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เช่น หลักศิลาจารึก เอกสารกฎหมาย กฎหมายตราสามดวง พงศาวดาร
ความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายทำให้เข้าใจหลักกฎหมายที่อยู่เบื้องหลังของตัวบทและทำให้เข้าใจ วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และเข้าใจวิวัฒนาการของกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำให้ทราบถึงที่มา ของรูปแบบการปกครองประเทศต่างๆว่ามีพื้นฐานมาอย่างไรจึงได้มีรูปแบบอย่างที่เป็นอยู่ ทำให้ทราบถึงอารยธรรมของโลก เพราะกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งแห่งอารยธรรมโลก ทำให้ทราบว่ามนุษย์มีวิธีการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างไร
การควบคุมความประพฤติของคนในสังคมจะอาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไป เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาตามสามัญสำนึกของชาวบ้าน ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กฎหมายก็คือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและจารีตประเพณีของชุมชนนั้นๆ ต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป จารีตประเพณีเดิม ย่อมไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรออกมาเพื่อแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป ในสังคมไทยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานและมีกฎหมายที่ใช้เป็นแบบแผนควบคู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสังคมไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งอาจจะแบ่งประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเป็นช่วงเวลาเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญประเทศไทยจึงจำต้องปรับปรุงระบบกฎหมายให้เช้าสู่สมัยใหม่รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็มีการปรับปรุงกฎหมายเช่นเดียวกัน โดยไทยได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นพระองค์แรกที่ได้มีการปรับปรุงระบบกฎหมายตามแบบตะวันตก โดยได้ประกาศใช้กฎหมายรวม 500 ฉบับ และทรงออกประกาศยกเลิกประเพณีอันล้าสมัย เช่น ประเพณีห้ามราษฎรมองหน้ากษัตริย์ และอื่นๆอีกมากมาย