เจ้าสัว ธนินท์ เจียรวนนท์ (มีชื่อจีนว่า เจี่ย ก๊กมิ้น) กิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2482 เป็นบุตรชายของนายเจี่ย เอ็กชอ และ นางกิมกี่แซ่ตั้ง โดยมีพี่น้องรวม 9 คนเป็นชาย 4 คนและหญิง 5 คน โดยนายธนินท์เป็นบุตรคนสุดท้อง ในตระกูลชาวจีนแต้จิ๋วที่ทำมาค้าขายเกี่ยวกับอาหารสัตว์ในย่านเยาวราช
เจ้าสัวธนินท์ได้เข้าเรียนประถมที่โรงเรียนสารสิทธิ์วิทยา จังหวัดราชบุรี และได้ไปเรียนต่อที่ซัวเถาประเทศจีนเพื่อให้ได้ฝึกภาษาจีน และเมื่ออายุได้ 16 ปีก็ได้เลือกเรียนต่อในฮ่องกงเพื่อต้องการรู้จักเรื่องการค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาด้านพาณิชยกรรมที่ฮ่องกงนายธนินท์เริ่มต้นทำงานเป็นครั้งแรกที่ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เมือตอนอายุ 19 ปี
ต่อมาได้โยกย้ายไปทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทยและบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์จำกัด ที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ถึงการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ การคลุกคลีกับนักวิชาการ รวมถึงกิจการหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศ จนกระทั่งเมื่ออายุ 25 ปี ได้กลับมาทำงานอีกครั้งที่เจริญโภคภัณฑ์อีกครั้ง
นายธนินท์ ในวัย 72 ซึ่งรับช่วงต่อธุรกิจจากบิดาในปี พ.ศ. 2512 กล่าวว่า “เราต้องการเป็นครัวของโลกด้วยกลยุทธ์ from farm to fork” ด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้รายได้ต่อปีของเครือเจริญโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าใน 4 ปีที่ผ่านมา คือ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์คาดว่าจะมีรายได้รวมในปีนี้ถึง 33,000 – 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ มีกำไรกว่า 2,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างไข่ทองคำให้กับนักลงทุนและหุ้นขอองบริษัทหลักที่จดทะเบียนในประเทศไทย อย่างเช่น หุ้นของของซีพีเอฟได้มีการซื้อขายในเดือนที่ผ่านมาในราคาเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่านับจากเดือนพ.ย.2551
อีกโครงการหนึ่งจะสร้างชื่อของนายธนินท์จารึกอยู่บนผืนแผ่นดินจีนคือการเข้าไปลงทุนกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( รวมถึงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีนด้วย) เพื่อก่อสร้างแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ตอบสนองความต้องการอาหารของประชากรจีนที่มีสูงมากในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า นายธนินท์กำลังจะเข้าไปเปลี่ยนชีวิตของคนจีนและยกระดับธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ทำให้นายธนินท์ได้รับยกย่องให้เป็นนักธุรกิจแห่งปี 2554 จากนิตยสารฟอร์บส เอเชีย
การขายสินค้าที่ผลิตขึ้นเอง เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ รายได้มากกว่า 1 ใน 5 ของธุรกิจมาจากร้านค้าปลีกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทยเครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินธุรกิจร้าน 7-11 จำนวนกว่า 6,000 สาขาซึ่งนับว่ามีจำนวนสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 2ของโลก และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใต้ชื่อ บมจ.ซีพี ออลล์
นอกจากนี้ยังมีร้านซีพี เฟรชมาร์ทอีก 500 สาขา และซีพีออลล์ยังติดอันดับ 1 ใน 50 องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ยอดเยี่ยมของทวีปเอเซียในปี 2554 จากการจัดอันดับจากฟอร์บส์เอเชีย นอกจากนี้ยังทำธุรกิจค้าปลีกในจีนซึ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตระดับหรู ปัจจุบันมี 76 สาขา (รวม 45 สาขาที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯฮ่องกง ในชื่อ บริษัท CTEI ) และตอนนี้ได้ขยายไปสู่ธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตหรูชื่อ Bazaar รองรับตลาดHigh-end
สิ่งที่น่าสนใจธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถทำงานสอดประสานกันจนเกิดเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ แม้แต่ธุรกิจโทรคมนาคมภายในการดำเนินงานของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งบริหารงานโดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ บุตรชายคนเล็ก ก็สามารถเสริมธุรกิจอาหารของซี.พี.ในจีนได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง การนำศิลปินในสังกัดทรูฯมาเป็น CP Brand Ambassadors โดยการไปร่วมแสดงใน Reality Show รายการดังของทีวีจีน