6. สื่อ รูปแบบและวิธีการสอนที่ไม่น่าสนใจ ทำให้การเรียนชะงักงันเมื่อไม่เข้าใจก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย สอดคล้องกับผลการวิจัยของ มะตอเฮ มะลี พบว่า “ข้อเสนอแนะคิดเป็นร้อยละมากที่สุด คือ อยากมีการเรียนเน้นการปฏิบัติ เนืองด้วยส่วนใหญ่การจัดการเรียนการสอนเน้นทฤษฎี สอดคล้องกับแนวคิดของ (John Dewey : 1859 ) “ รูปแบบการสอนแบบปฏิบัติการมาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เนื่องจากทั้งสองรูปแบบนี้มีลักษณะ จุดมุ่งหมาย กระบวนการ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมีลักษณะที่สอดคล้องกัน
7. การเรียนการสอนเน้นเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจและศึกษาคัมภีร์และศึกษาตำราภาษาอาหรับเท่านั้น แต่ไม่ได้เน้นการใช้ในชีวิตประจาวัน ฉะนั้นผู้ที่เรียนภาษาอาหรับในประเทศไทยจำนวนน้อยมากที่จะสามารถใช้ทักษะทางภาษาอาหรับได้อย่างดี ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนภาษาอาหรับมากมายอย่างแพร่หลายแต่ส่วนมากการเปิดเป็นระบบปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือในรูปแบบการศึกษานอกระบบ มีการเรียนการสอนหนังสือที่เป็นภาษาอาหรับในวิชาการต่างๆ ของศาสนาอิสลาม และมีการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ ทั้งวิชาไวยากรณ์อาหรับ วิชาการผันภาษาอาหรับ วิชาวาทศิลป์ภาษาอาหรับ จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความกังวลในการนำภาษาอาหรับไปใช้งานจริง เพราะพะวงกับกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ภาษาอาหรับที่มีรายละเอียดอยู่มากมาย และเพราะมีการเรียนการสอนที่มุ่งหวังผลที่จะได้ตอบสนองต่อผู้ปกครองและผู้เรียน ในการนำไปใช้ประกอบศาสนกิจในศาสนาอิสลาม ทั้งระดับประถม มัธยม หรือสูงกว่านั้น ทำให้ผลิตผลนักเรียนที่เรียนจบในระดับต่างๆ ไม่สามารถเอาไปสนทนาได้ นอกจากนำไปประกอบศาสนกิจ ศึกษาหรือค้นคว้าตำราภาษาอาหรับเท่านั้น