ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น
1 ปัญหาหลัก: ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น "เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน
2 สาเหตุ: เงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น
5. มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (เตือนใจ ชาลี 2539)
6. เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
7. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ
แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น ( ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) )
3 ผลกระทบอะไรบ้างที่ศึกษาต่อสังคม:
1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้
2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้ “โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ
4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
4 หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น :
1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. กระทรวงศึกษาธิการ
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
4. สถาบันการศึกษา
5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
6. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อย