ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า
- ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอ
- เลือดไม่สะอาด ทำให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง
- สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทำให้ไอคิวต่ำ เฉื่อย ขาดความว่องไว ความจำไม่ดี ขาดความกระตือรือร้น
- ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี ตัวเหลว กล้ามเนื้อเหลว ผิวเหี่ยวและคล้ำ
แก่เร็ว ภูมิต้านทานลด ปวดหัว ปวดเข่า ความจำเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์
*การดื่มกาแฟแทนอาหารเช้าไม่ได้ประโยชน์ และอาจเป็นโทษด้วยจากสารคาเฟอีน
อาหารเช้าเพิ่มพลังสมอง
ระหว่างที่นอนหลับร่างกายเรายังคงใช้พลังงานตามปกติ พลังงานเหล่านั้นมาจากกลูโคสที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ กว่าจะถึงเช้ากลูโคสมากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไป ร่างกายจึงต้องการเติมพลังงาน ซึ่งอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะเป็นตัวเริ่มขับเคลื่อนพลังงานให้กับร่างกาย ได้ดีที่สุด
สมองของคนเราก็ใช้กลูโคสเป็นพลังงานด้วยเช่นกัน แต่สมองไม่สามารถเก็บสะสมกลูโคสส่วนที่เหลือได้เหมือนกับการที่ร่างกายสะสม พลังงาน ฉะนั้นอาหารเช้าจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้สมองเราทำงานได้เฉียบไว หากงดอาหารเช้า คุณอาจไม่รู้สึกอะไร เพราะมีพลังงานสำรองจากการพักผ่อน แต่พอใช้หมดไปร่างกายจะเข้าสู่ภาวะเครียด และแม้ว่าจะกินชดเชยในมื้อเที่ยง ก็สายเกินไป เพราะเวลาที่ร่างกายต้องการพลังงานส่วนนั้นได้ผ่านไปแล้ว
กินอะไรดีที่สุดสำหรับสมอง
นักวิจัยได้ลองให้ชาย - หญิง 22 คน อายุ 60-70 ปี ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรตล้วนๆ โปรตีนล้วน ไขมันล้วน เครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิดให้พลังงานช่วยให้การทำข้อสอบเกี่ยวกับความจำระยะสั้นดีขึ้น แต่ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาร์โบไฮเดรตทำได้ดีที่สุด ในการทบทวนความจำหลังจากดื่มไป 1 ชั่วโมง ชี้ให้เห็นว่าคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง
เมื่องดอาหารเช้า เราจะไม่ได้สารอาหารสำคัญที่ช่วยความจำตลอดวัน แม้แต่การขาดสารอาหารเพียงเล็กน้อย ประเภทกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 ก็จะลดความจำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น คนสูงอายุจะดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยลง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเสริมกรดโฟลิค ซึ่งมีมากในธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียวจัด ถั่ว น้ำส้มคั้น ฯลฯ
อาหารเช้าที่ควรใส่ใจ
ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารเช้ามากขึ้น ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มีองค์ประกอบดังนี้
• คาร์โบ ไฮเดรตเชิงซ้อน ดีที่สุดสำหรับอาหารเช้า เพราะจะค่อยๆ ปลดปล่อยกลูโคสให้กับสมองโดยใช้เวลานานขึ้นในการย่อยและดูดซึม แนะนำให้เลือกธัญพืชไม่ขัดสีและผลไม้
• โปรตีน อาหารทะเลให้กรดอะมิโน เพื่อผลิตสารสื่อข่าวสมอง ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบีและโคลีนช่วยการทำงานเกี่ยวกับความจำ แม้ไข่มีคอเลสเทอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองในมื้ออาหารที่สมดุลนั้น ข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย
• อาหาร แคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริมแคลเซียม น้ำส้มเสริมแคลเซียม ช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกาย
• "การไม่กินอาหารเช้า" สาเหตุหลัก ๆ มักมาจากการที่เราเลือกที่จะไม่กินมาโดยตลอดจนติดเป็นนิสัย และบางทีการรับประทานอาหารเย็นมื้อใหญ่ หรือกินของจุบจิบตลอดเวลาจนกระทั่งเข้านอน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณรู้สึกไม่อยากกินอาหารเช้าก็เป็นได้
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า "การงดรับประทานอาหารเช้า" โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผลที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง ก็คือ ร่างกายจะขาดความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก...!! นั่นหมายความว่า คนที่ไม่กินอาหารเช้าเป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมักจะมีพฤติกรรมเลือกที่จะบริโภคอาหารที่มีไขมัน แคลอรี่ และน้ำตาลสูงกว่าปกติ แถมยังเลือกที่จะกินผักและผลไม้น้อยลงกว่าปกติเสียด้วยซ้ำ....
แต่ไม่ต้องตกใจไป คุณสามารถจะปรับพฤติกรรมนั้นได้ ลองเริ่มต้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ด้วย 6 เคล็ดไม่ลับ เพื่อเติมพลังให้ร่างกายด้วยอาหารมื้อเช้า ดังนี้..
• 1.เริ่มต้นมื้อเช้ากับ "อาหารเบา ๆ ปริมาณน้อย ๆ"
ฝึกรับประทานอาหารมื้อเช้าด้วยเมนูอาหารที่ย่อยง่าย แต่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับการเริ่มต้น เช่น ลองรับประทานเครื่องดื่มโปรตีนเชคกับผลไม้ หรือไข่ต้มสักลูก ตบท้ายด้วยผลไม้ซัก 2-3 ชิ้น แค่นี้ก็เป็นการเริ่มต้นในการรับประทานอาหารเช้าที่ดีและมีคุณค่าแล้ว
•
2."โปรตีน" สารอาหารสำคัญสำหรับมื้อแรก !
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าโดยบริโภคโปรตีนในปริมาณสูง มีแนวโน้มที่จะลดแคลอรี่จากการบริโภคอาหารมื้อเย็นได้ต่ำกว่าผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเช้าแบบปกติถึง 200 กิโลแคลอรี่ เนื่องจาก "โปรตีน" เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับมื้อเช้า เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึก "อิ่ม" ได้นานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวไปตลอดทั้งวันอีกด้วย...ว้าว...
•
• 3.เปลี่ยน "อาหารมื้อหนัก" เป็น "ของว่าง" ที่กินได้เรื่อย ๆ
สำหรับการฝึก "รับประทานอาหารเช้า" ให้เป็นนิสัยนั้น จริง ๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารทั้งมื้อให้หมดภายในครั้งเดียว แต่สามารถใช้เวลาไปกับอาหารมื้อนั้น ๆ ด้วยการละเลียดอาหารแต่ละอย่าง หรือเว้นช่วงการรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างอาหารคาว - อาหารหวาน เป็นต้น
•
• 4.ตื่นก่อนเวลาปกติ 15 นาที
"15 นาที" ที่เพิ่มขึ้นจากการที่คุณตื่นก่อนเวลาปกติอย่างที่เคย นอกจากคุณจะได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในยามเช้าแบบไม่ต้องเร่งรีบแล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นระบบต่างๆ ภายในในร่างกาย ให้ค่อยๆ ตื่นตัวจากการนอนหลับและพร้อมที่จะผจญภัยกับภารกิจหนักต่างๆ ในช่วงวันอีกด้วย
•
5.เมนูไหน ๆ ก็เป็นอาหารเช้าได้เสมอ
ไม่เคยมีกฎตายตัวหรือข้อบังคับว่า เมนูอาหารชนิดใดบ้างที่ควรหรือไม่ควรเป็น "อาหารมื้อเช้า" เพราะเราเน้นที่คุณค่าของสารอาหารที่บริโภคเป็นหลัก ดังนั้น ไม่ว่าอาหารมื้อเช้าของคุณจะเป็นอาหารเหลือจากมื้อเย็นที่รับประทานไม่หมดของเมื่อวาน หรืออาหารปรุงสำเร็จที่เราซื้อไว้นานแสนนานอยู่ในช่องแข็ง ทุกเมนูอาหารสามารถเป็น "อาหารมื้อเช้า" ได้เสมอ
•
• 6. มั่นใจแค่ไหน..กับ "กาแฟและมัฟฟิน" มื้ออาหารเช้า
มีอีกหลายคนที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเช้า เพร