1.การสัมภาษณ์งาน
การสัมภาษณ์ หมายถึงการสนทนากันอย่างมีเป้าหมาย ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้สื่อข่าวต้องพึงระมัดระวังเรื่องความเป็นกลางเป็นพิเศษ เช่น ข้อผิดพลาดอันเกิดจากการถูกชักจูงโดยแหล่งข่าว
1.1 วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์
1. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบข่าว หรือเป็นส่วนหนึ่งของข่าว ในฐานะที่เป็นข้อความสัมภาษณ์ที่ได้จากแหล่งข่าว ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
- ทำให้ข่าวมีคุณค่าและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- เพื่อปรุงแต่งให้ข่าวนั้นสมบูรณ์ สนองความสนใจของผู้อ่านได้ฉับพลัน
- เป็นการเพิ่มสาระสำคัญส่วนที่เหตุการณ์ตอบตัวของมันเองไม่ได้
- เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นโดยตรง
- ให้รสชาติทางความรู้สึกต่าง ๆ
- ให้ข้อคิดอันจะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์
2. เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปเขียนเป็นบทความสัมภาษณ์โดยตรง
3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระทำ การสัมภาษณ์ในลักษณะนี้มุ่งตรวจสอบผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมว่าได้ทำตามหน้าที่แล้วหรือไม่และอย่างไร การติดตามสอบถามความคืบหน้าของการดำเนินการเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นการกระตุ้นให้การดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของสื่อมวลชน
1.2 องค์ประกอบของการสัมภาษณ์
โดยทั่วไป การสัมภาษณ์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้สัมภาษณ์
2. ผู้ให้สัมภาษณ์
3. เรื่องที่จะสัมภาษณ์
4. เป้าหมายการสัมภาษณ์
5. วิธีการสัมภาษณ์
1.3 ลักษณะการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล สามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ลักษณะ คือ
- การสัมภาษณ์ที่มิได้มีการนัดหมายล่วงหน้า การสัมภาษณ์ลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นที่ไหนหรือเมื่อใดก็ได้ อาจเป็นสถานที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ก็ได้
- การสัมภาษณ์ที่มีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า
1.4 ประเภทของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์โดยทั่ว ๆ ไป แบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.4.1 การสัมภาษณ์เพื่อข้อเท็จจริง (Factual Interview) การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้
- จากประจักษ์พยาน (Eyewitness) หรือผู้มีส่วนรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ
- บุคคลที่ยอมรับกันว่าเป็นผู้รู้เรื่องนั้นจริง ๆ หรือมีความเชี่ยวชาญ
- ประกาศและคำแถลงหรือการเปิดประชุมข่าว (Press Conference) ที่นักข่าวมีโอกาสซักถามและได้ทราบรายละเอียดตามที่หน่วยงานราชการหรือองค์กรต่าง ๆ แถลงมาให้ทราบ
- การตามข่าวของผู้สื่อข่าวเอง ที่พยายามสอบถามจากผู้รู้ หลักฐานต่าง ๆ
1.4.2 การสัมภาษณ์เพื่อความคิดเห็น (Opinion Interview) การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้
- บุคคลสำคัญที่ประชาชนอยากจะทราบความเห็น แม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นข่าวก็ตาม
- บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังเป็นข่าว
- บุคคลทั่ว ๆ ไป เป็นการสัมภาษณ์เพื่อขอความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ หลายคนในเรื่องเดียวกัน
1.4.3 สัมภาษณ์เพื่อบุคลิกภาพ (Personality Interview) การสัมภาษณ์ในลักษณะนี้อาจสัมภาษณ์ได้ใน 2 ลักษณะ คือ
- สัมภาษณ์ในภาพรวมเกี่ยวกับชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์
- สัมภาษณ์โดยดึงเพียงบางประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจ การสัมภาษณ์ประเภทนี้ อาจได้มาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ดังนี้
ก. บุคคลเด่นหรือมีความสำคัญในสังคม
ข.บุคคลทั่วไปซึ่งมีลักษณะเด่นบางอย่าง เช่น บุคคลผู้มีประสบการณ์น่าสนใจ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิต บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากเกียรติยศรางวัล รวมถึงบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกพิเศษ
ค.บุคคลทั่วไปซึ่งไม่มีลักษณะเด่นอะไรเลย แต่นักข่าวมองเห็นแง่มุมบางอย่างที่มีคุณค่าแก่การนำเสนอ
1.5 ช่องทางการสัมภาษณ์งาน
การสัมภาษณ์งานมีชนิด รูปแบบ และกรรมวิธีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งผู้สมัครจำเป็นต้องทราบก่อนเข้า ทำการสัมภาษณ์ว่าเป็นการสัมภาษณ์ชนิดไหน เพื่อว่าจะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องในทางปฏิบัติ สำหรับชนิดและกรรมวิธีของการสัมภาษณ์งานที่ให้ไว้ข้างล่าง ต่างเป็นกรรมวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป ในการสัมภาษณ์งาน
1.5.1 การสัมภาษณ์งานแบบบุคคลต่อบุคคล (Individual Interview)
การสัมภาษณ์งานแบบบุคคลต่อบุคคลเป็นชนิดที่ใช้กันทั่วไปสำหรับหน่วยงานหรือบริษัทที่ต้องการ
คัดเลือกพนักงานในระดับทั่วๆ ไป ซึ่งการสัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ "ผู้สัมภาษณ์" จะติดต่อนัดหมายให้ "ผู้สมัคร" ไปทำการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ในตำแหน่งงานที่ไม่ค่อยมีความสำคัญนักที่ "ผู้สัมภาษณ์" สามารถพิจารณาและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้สมัครทราบว่าตนจะต้องถูกสัมภาษณ์แบบบุคคลต่อบุคคลแล้ว ท่านก็ จำเป็นจะต้องเตรียมตัวไว้ก่อนล่วงหน้าตามคำแนะนำที่จะให้ไว้ในบทต่อไปเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อใดที่ท่านต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแล้ว เมื่อนั้นท่านจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับเขาให้มากที่สุด
1.5.2 การสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์ (Phone Interview)
การสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการสอบถามธรรมดา เพื่อต้องการทราบว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทำการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอออกไป การสัมภาษณ์ชนิดนี้บางครั้งก็เรียก "Screening Interview" ซึ่งหมายถึงการกลั่นกรองเอาผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ นัดไปสอบสัมภาษณ์แบบใดแบบหนึ่งที่หน่วยงานหรือที่บริษัทต่อไป
ขอให้เข้าใจว่าการสัมภาษณ์งานทางโทรศัพท์จะดูเป็นสิ่งง่ายๆ ที่สามารถกระทำได้ทุกเวลาก็ตาม แต่สำหรับผู้สมัครงานแล้วถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็ได้ ทั้งนี้ เพราะหากท่านล้มเหลวใน ขั้นตอนแรกของการสัมภาษณ์งานนี้แล้ว โอกาสที่ท่านจะได้งานนั้นก็หมดไปทันทีโดยปริยาย
1.5.3 การสัมภาษณ์งานแบบใช้คณะผู้เชี่ยวชาญ (Panel or Board Interview)
การสัมภาษณ์งานชนิดนี้ "ผู้สัมภาษณ์" จะเป็น "กลุ่มบุคคล" ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือกให้ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ โดยปรกติการสัมภาษณ์ชนิดที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญ มักจะเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ เท่านั้น และเหตุผลที่ต้องใช้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็เพราะต้องการให้เป็นการเลือกเฟ้นที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นหากท่านทราบว่าจะต้องรับการสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้แล้ว ก็จำเป็นต้องเตรียมตัวและวางแนวทางการตอบคำ