วัตถุประสงค์ ( 研究的目的 )
เพื่อศึกษาปัญหาในการใช้คำเชื่อม“跟” และ“和” ของนักศึกษาไทย กรณีศึกษา : นักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เพื่อนำความรู้จากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนภาษาจีนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่จะได้รับ ( 预期成果 )
สามารถเข้าใจและใช้คำเชื่อม“跟” และ“和”ได้อย่างถูกต้อง
สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการเรียนภาษาจีน
ทบทวนวรรณกรรม ( 前人研究成果 )
ในปัจจุบันมีผู้สนใจเรียนภาษาจีนกันอย่างแพร่หลาย ในการพูด อ่านและเขียนภาษาจีน ผู้ศึกษาต้องรู้หลักไวยากรณ์ในภาษาจีนด้วย เป็นคำที่มีการใช้ผิดหรือไม่เข้าใจวิธีการใช้ในหลักไวยากรณ์ ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาและนักวิจัยส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมกันอย่างแพร่หลาย และไม่ใช่เพียงแค่ในภาษาจีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในภาษาต่างๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังที่ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อมไว้ได้ดังต่อไปนี้
ผลงานวิจัยด้านการศึกษาภาษาจีน เช่นผลงานของ ว่าที่ ร.ต.ฐิติณิชคุณ โฆสิตชุติพงษ์ (2012) เรื่อง “ข้อผิดพลาดในการใช้คำเชื่อม” ผลงานของ กาญจนา ประมูลลี (2011) เรื่อง “ การศึกษาปัญหาการใช้ไวยากรณ์ “跟” และ“和” ผลงานของ มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์ (2546) เรื่อง “การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า “跟” และ“和” จากทั้ง 3 วิจัยนี้ ผลงานทั้งสามผลงานเหมือนกันคือ ผลงานของ ว่าที่ ร.ต.ฐิติณิชคุณ โฆสิตชุติพงษ์ ผลงานของ กาญจนา ประมูลลี ผลงานของ มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์ (2546) เรื่อง “การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า“跟” และ“和” เพราะ 3 ผลงานนี้มีวิธีการศึกษาปัญหาการใช้เชื่อมเหมือนกัน เช่น การศึกษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ ลักษณะทางไวยากรณ์ ความหมายและวิธีการใช้คำเชื่อม“跟” และ “和” โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและแบ่งประเภทของโครงสร้างทางไวยากรณ์ออกเป็นประเภทต่างๆ และให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบทดสอบแล้วนำผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบมาสรุปผลตามโครงสร้างต่างๆว่าโครงสร้างไวยากรณ์ประเภทใดที่ผู้เรียนใช้ผิดกันบ่อยและนำปัญหาที่พบมาเป็นแนวทางในการแก้ไขการเรียนการสอนและนำมาพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น