The vaccine is made with chicken eggs. The purpose of vaccination is to prevent and control infectious diseases outbreaks, especially important that can't be maintained, or a disease that is difficult to maintain. Makes it possible for a chicken to create immunity in the body. To make a vaccine to add together all the chicken by CLEA kokwam direct and indirect, so it must be easy to make chicken little at a time, by vaccine escape catch chickens with the right precautions and vaccination with softness. If you are not careful with the chicken daphoem, chicken up and CLEA has lost more body.The type of vaccine วัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมขึ้นจากส่วนของเชื้อโรคหรือเชื้อที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเมื่อฉีดเข้าร่างกายสัตว์ก็สามารถทำให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันโรคได้และภูมิคุ้มกันโรคนั้นสามารถที่จะป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคนั้น ขนิดของวัคซีนแบ่งออกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ 1. วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นจุลชพที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ จุลชีพเหล่านี้สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดความเครียดหรือเกิดอาการแพ้วัคซีน วัคซีนเชื้อเป็นสามารถให้ไก่ได้ทีละตัว โดยการหยอดตาหรือหยอดจมูกหรือให้ไก่เป็นกลุ่มโดยการละลายในน้ำดื่ม หรือการสเปรย์ ทำให้ประหยัดแรงงานวัคซีนเชื้อเป็นสามารถถูกทำลายได้ง่ายโดยภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดมาจากแม่ แต่ให้ความคุ้มโรคสูง อาจทำให้สัตว์เกิดโรคได้ แต่การเก็บรักษายุ่งยากกว่าการเก็บวัคซีนเชื้อตาย และมีราคาถูก 2. วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่มักเตรียมจากเชื้อที่มีความรุนแรงที่ถูกทำให้ตายโดยทางเคมีหรือฟิสิกส์ จุลชีพเหล่านี้ไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงมีความปลอดภัย แต่ให้ความคุ้มโรคต่ำวัคซีนเชื้อตายจะให้โดยวิธีการฉีดเท่านั้น สารที่ใช้ผสมกับวัคซีนจะเป็นน้ำมันหรืออลูมินั่มไฮดร็อกไซด์ สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดี วัคซีนเชื้อตายมีราคาแพงแต่เก็บรักษาง่าย วิธีการทำวัคซีน การทำวัคซีนไก่สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่ใช้และชนิดของโรค 1. การหยอดตาหรือหยอดจมูก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่เพื่อป้องกันโรคที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคนิวคาสเซิล และหลอดลมอักเสบ โดยละลายวัคซีนในนำยาละลายวัคซีน (น้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้องการใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เยื่อบุอักเสบ ขวดที่ใช้หยอดวัคซีนควรเป็นขวดมาตรฐานเพื่อให้ลูกไก่ได้รับวัคซีนครบโด๊ส การหยอดตาให้หยอดวัคซีน 1-2 หยดต่อไก่ 1 ตัว ตำแหน่งที่จะหยอดวัคซีนก็คือที่บริเวณมุมขวาด้านใน รอจนกระทั่งวัคซีนเข้าไปในตาจึงปล่อยไก่ การหยอดจมูกจะให้ผลดีกว่าการหยอดตา การยอดโดยใช้นิ้วมือปิดรูจมูกไว้ข้างหนึ่งแล้วจึงหยอดวัคซีนในรูจมูกอีกข้างหนึ่ง การทำวัคซีนโดยการหยอดตาและหยอดจมูกทำให้ไก่ทุกตัวได้รับปริมาณวัคซีนที่ใกล้เคียงกันทุก ๆ ตัว ดังนั้นภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นจึงมีระดับที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่วิะการทำยุ่งยาก เสียเวลา และเสียแรงงานมากกว่านั้น 2. การแทงปีก เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่คือใต้บริเวณใต้ผิวหนังเช่น วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ เป็นวัคซีนที่มีความเข้มข้นมาก เนื่องจากใช้น้ำยาละลายวัคซีนเพียงเล็กน้อย และใช้เข็มจุ่มวัคซีนครั้งละ 0.01 ซีซี. โดยสังเกตจากการที่วัคซีนเต็มรูเข็มทั้งสองข้าง แล้วแทงเข็มจากทางด้านล่างผ่านทะลุผนังของปีกไก่ ระวังอย่าให้แทงผ่านขน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ภายใน 7-10 วัน หลังจากทำวัคซีนจะเกิดรอยสะเก็ดแผลทั้งด้านบนและด้านล่างของผนังปีกไก่ซึ่งเกิดจากแทงเข็มผ่าน 3. การฉีดเข้าผิวหนัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้ายทอยหรือฐานคอ ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่ให้ผลในการคุ้มกันโรคนาน 4. การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่นิยมใช้กับวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันดีกว่าการหยอดตาและหยอดจมูก เพราะจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วย สารนำขึ้นในกระแสเลือดและเกิดการหมุนเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาห์ไก่ เป็นต้น 5. การละลายน้ำดื่ม เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ประหยัดแรงงาน และเหมาะสำหรับไก่จำนวนมาก ๆ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก เนื่องจากไก่แต่ละตัวได้รับวัคซีนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะต้องหยุดการให้น้ำไก่เดป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนทำวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ไก่กระหายน้ำและกินน้ำผสมวัคซีนให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระยะเวลาในการ อดน้ำจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุปกรณ์ให้น้ำจะต้องมีเพียงพอสำหรับไก่จำนวน 2 ใน 3 ของคอกสามารถเข้าไปกินน้ำได้พร้อมๆ กัน ถ้าไม่พออาจเพิ่มเติมอุปกรณ์ให้น้ำขึ้นมาชั่วคราวสำหรับการนี้โดยเฉพาะ จุดนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะการล้มเหลวจากการให้วัคซีนนี้มักเกิดจากระบบน้ำไม่ถูกต้องและอุปกรณ์ให้น้ำไม่เพียงพอ สำหรับปริมาณน้ำที่ใช้ละลายวัควีนจะผันแปรไปตามอายุของไก่ ดังนี้
อายุ 1 สัปดาห์ ใช้น้ำ 2-5 ลิตรต่อไก่ 1,000
อายุ 2-3 สัปดาห์ ใช้น้ำ 9-11 ลิตรต่อไก่ 1,000
อายุ 5-7 สัปดาห์ ใช้น้ำ 14-18 ลิตรต่อไก่ 1,000
อายุมากกว่า 7 สัปดาห์ ใช้น้ำ 20-23 ลิตรต่อไก่ 1,000
6.การสเปรย์ เป็นวิธีที่นิยมกันมากสำหรับการทำวัคซันครั้งแรกในลูกไก่อายุ 1 วัน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ อาจสเปรย์ตั้งแต่ในโรงฟักหรือในโรงเรือนที่เลี้ยง โดยสเปรย์ใส่ลูกไก่ที่อยู่ในกล่องเลย ลูกไก่จะได้รับวัคซีนผ่านทางลูกตาหรือจมูก เป็นวิธีที่ทำได้รวดเร็ว สามารถให้วัคซีนแหก่ไก่จำนวนมาก ๆ ในระยะเะวลาอันสั้น แต่ปริมาณวัคซีนที่ได้รับอาจแตกต่างกันไป การสเปรย์ควรสเปรย์ให้พอหมาดๆ ไม่ควรให้ตัวลูกไก่เปียกโซก และควรทิ้งลูกไก่ไว้ 10-15 นาที เพื่อให้ตัวแห้ง
ข้อควรปฏิบัติในการทำวัคซีน
1. อายุของไก่และระยะ
การแปล กรุณารอสักครู่..