วิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับการตั้งชื่อมายาวนาน ในที่นี่ขอเริ่มต้นที่สมัยสุโขทัย เพราะเป็นสมัยแรกที่คนไทยรวมชาติเป็นปึกแผ่น และปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร จนถึงสมัยรัตนะโกสินทร์ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อในสมัยสุโขทัย
ชื่อที่พบเกือบทั้งหมดจะเป็นคำพยางค์เดียว ภาษาที่ใช้น่าจะเป็นภาษาไทยทั้งหมด โดยความหมายของชื่อสะท้อนแนวคิดของคนในยุค "สร้างบ้านแปลงเมือง" 2 ประการคือ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ฉันญาติ เช่นและแนวคิดเรื่องการมุ่งเอาความปลอดภัยมั่นคง และความเจริญของชุมชนเป็นหลักร่วมกัน
ชื่อในสมัยอยุธยา และธนบุรี
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต และภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย โดยความหมายของชื่อมักแสดงรูปธรรมที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น (ต้นไม้) ทอง (ธาตุ) ฯลฯ หรือมีความหมาย แสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวที่กระทำอยู่อย่างปกติ
ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต ภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย และภาษาเขมร โดยความหมายของชื่อสะท้อนคตินิยม และวิถีทางดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี
ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยระยะต้น
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นภาษาไทย แต่มีปริมาณการใช้ลดลง และเพิ่มการใช้ภาษาบาลีสันสกฤต โดยความหมายของชื่อมีลักษณะแตกต่างจากคตินิยมเดิม คือมีชื่อที่มีความหมายในเรื่องอำนาจ ชัยชนะ และการสงครามเพิ่มขึ้นมาก และมีชื่อที่แสดงความหมายเกี่ยวกับความรู้ ความฉลาด การศึกษา ซึ่งไม่ปรากฏเป็นชื่อในสมัยที่ผ่านมา
ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน
ชื่อที่พบส่วนใหญ่จะเป็น 2 พยางค์ขึ้นไป ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อนิยมใช้ภาษาบาลีสันสกฤตเป็นอย่างมาก นอกนั้นเป็นภาษาไทย และภาษาบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย นอกจากนี้ยังนิยมสรรหาชื่อที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนคนอื่น จึงปรากฏชื่อที่มีรูปลักษณ์ทางภาษาแปลก ๆ หรือมีหลายพยางค์มากกว่าสมัยที่ผ่านมา โดยความหมายของชื่อจะลดความนิยมชื่อที่มีความหมายเป็นรูปธรรม และมีความหมายเป็นนามธรรมมากขึ้น เช่นชื่อที่มีความหมายแสดงอำนาจ ชัยชนะ ความงาม ความเจริญ หรือศิริมงคล
สังเกตได้ว่าระหว่างแต่ละสมัยชื่อของคนไทยมีจำนวนพยางค์เพิ่มขึ้น หรือยาวขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการขยายชุมชน เมื่อชุมชนใหญ่ขึ้น ประชาชนมากขึ้น ชื่อย่อมมีโอกาสซ้ำกันมากขึ้น และเนื่องจากชื่อเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นในการสื่อสารให้สะดวกและถูกต้อง จึงต้องมีชื่อที่บ่งบอกเฉพาะลงไปเพื่อกำหนดการเรียกขานตัวกันชัดเจนไม่สับสน การตั้งชื่อให้ยาวขึ้นจึงเป็นทางออกหนึ่ง นอกจากการตั้งชื่อให้ยาวขึ้นแล้ว การตั้งชื่อให้แปลกใหม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อซ้ำ ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ความสำคัญอยู่ที่จะแสดงลักษณะเด่นของผู้เป็นเจ้าของชื่อให้เป็นที่รู้จักจำได้ เช่น เสียงแปลก สะกดแปลก ฯลฯ ฉะนั้นถึงแม้จะมีควาหมาย หรือไม่มีความหมายจึงไม่น่าจะถือเป็นสำคัญ
ลักษณะเด่นทางชื่อของคนไทย
มักเกี่ยวกับความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทยโดยการวิเคราะห์รูปคำและความหมายในชื่อคนไทย
มีการใช้รูปคำที่เป็นสิริมงคลตามตำราทักษาซึ่งเป็นตำราโหราศาสตร์ที่นิยมใช้เป็นหลักในการตั้งชื่อ คือ เลี่ยงการใช้อักษรกาลกิณีประจำวันเกิด เลือกอักษรเดชหรืออักษรศรีนำหน้าชื่อ
มีการเลือกใช้ ความหมายของคำที่เป็นสิริมงคล 12 กลุ่มความหมาย ที่เด่นมากที่สุด ได้แก่ ความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง ความมั่งคั่ง ความรู้ความสามารถ เกียรติยศและอำนาจ เป็นต้น