SI Nakhon district and city in this era, the first phase of city of Sisaket have created many temples, Temple, each of which is a measure of area surrounding the temple both directions. Shall be consecrated for worship citywide Luang some measure become sustainable measurements? Some other measure has been developed as a new measure that play an important role towards the monks and monks in religion. 1. East. There is a Wat SI or WAT Luang, akada Mang Mang Suez kha () class Royal Temple WAT Muang and Burapa along Rama under mueang SI SA KET. 2. West North temple or WAT is tha samran is located on Huay samran side. The area where the current City Hall area-Thailand. It is important evidence which is still left on the Po. 3. North. There is a Wat tha Rong Chang or tha magic kunchon Temple. Today Sri Muang Muang North city talisman Srisaket 4. There are three legs to the South Temple or WAT e non Lijiang Lijiang temple today is it reboot the auspicious RAM Wara. Royal Templeเมื่อพระยาวิเศษภักดี (ชม) ได้สร้างวัด สร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่าง ๆแล้ว ได้นิมนต์พระสงฆ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือเข้ามาพำนักอาศัย แต่พระสงฆ์ที่นิมนต์เข้ามาพำนักอาศัยในครั้งนั้น ไม่สารถระบุได้ว่า ชื่ออะไร มาจากไหน หากพิจารณาตามเหตุผลและหลักฐานประกอบหลายๆอย่าง พอจะอนุมานได้ว่า วัดพระโต เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ เป็นวัดที่เจ้าเมืองสร้าง ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและความสามัคคีของผู้คนในบ้านเมือง เป็นได้ว่า พระสงฆ์ที่จะได้รับนิมนต์เข้ามาพำนักอาศัย จะต้องเป็นพระสงฆ์ที่ทรงภูมิรู้และภูมิธรรมและมีปฏิปทาเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน หรือไม่ก็เป็นพระสงฆ์ที่นิมนต์มาจากถิ่นอื่น เช่น เมืองขุขันธ์ หรือ นครจำปาสัก เป็นต้น ต่อมาในช่วงปลายชีวิตของพระยาวิเศษภักดี ได้ปรากฏชื่อพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพระโตอยู่หลายรูป แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่า มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่เมืองไร เช่น พระหลักคำหงส์ พระครูจันดา พระครูเพ็ง พระครูสงฆ์ เป็นต้นพระยาวิเศษภักดี (ชม) ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองศรีสะเกษ ๓๕ ปี (พ.ศ.๒๓๒๘-๒๓๖๗) ในยุคนี้ ถือว่าเป็นยุคทองของวัดพระโต ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน ได้แก่ การปกครองคณะสงฆ์ การศึกษา การเผยแผ่และการสาธารณูปการ จึงถือได้ว่า ท่านพระยาวิเศษภักดี (ชม) เป็น พหุการกบุคคล ผู้มีอุปการคุณยิ่งยวดต่อวัดพระโต และเป็นปูชนียบุคคล ของปัจฉิมตาชน ผู้อุปถัมภ์ และทะนุบำรุงวัดพระโต และพระพุทธศาสนาสืบมาจนปัจจุบัน พ.ศ.๒๓๖๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) ปลัดเมืองศรีสะเกษ เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษ ในระยะเวลานี้ ได้มีการก่อสร้างเสนาสนะ เช่น กุฎีสงฆ์ ประมาณ ๒ หลัง โครงสร้างทำด้วยไม้ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด ซึ่งก็คือ ที่ตั้งโรงเรียนวัดมหาพุทธารามทุกวันนี้ พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๔ ด้วยสาเหตุคือลงอาบน้ำที่ลำห้วยสำราญ (ท่าสะพานขาว) เป็นตะคริวจมน้ำหายไป (พ.ศ.๒๓๖๘-๒๔๒๔ รวม ๕๖ ปี) พ.ศ.๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระพรหมภักดี (โท) ยกระบัตรเมืองศรีสะเกษ บุตรหลวงวิเศษ เป็นพระยาวิเศษภักดี เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษ คนที่ ๔ ในระยะเวลานี้ ทางการบ้านเมือง ได้มีการประกอบพิธีสำคัญที่วัดพระโต เช่นพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีถวายเครื่องสักการะเนื่องในงานเทศกาลไหว้หลวงพ่อโต ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนทุกปี และพิธีกราบถวายเครื่องสักการะ ของเจ้าเมือง ข้าหลวง และผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ หรือคำสั่งให้มาดำรงตำแหน่งปกครองเมืองศรีสะเกษ พระยาวิเศษภักดี (โท) เป็นเจ้าเมืองศรีสะเกษ คนสุดท้ายก่อนจะมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมือง (พ.ศ.๒๔๒๔-๒๔๗๕) พ.ศ.๒๔๗๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตย หรือระบอบสมบูรญาณาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จนถึง พ.ศ.๒๔๘๑ จึงเปลี่ยนชื่อจากจังหวัดขุขันธ์มาเป็นจังหวัดศรีสะเกษจนถึงปัจจุบันตอนที่ ๓ ประวัติวัดมหาพุทธาราม วัดมหาพุทธาราม ในปัจจุบัน เดิมชื่อ วัดป่าแดง และวัดพระโต ก่อน พ.ศ.๒๓๒๕ ชื่อว่า “วัดป่าแดง” พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๙๐ ยุคเมืองศรีนครเขต-ศรีสะเกษ ชื่อว่า “วัดพระโต” เป็นวัดฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี ความหมายปัจจุบัน คามวาสี เป็นวัดฝ่ายคันถธุระ ที่จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม-แผนกบาลี และจัดการศึกษาสงเคราะห์แก่กุลบุตร กุลธิดา ส่วนอรัญวาสี เป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระ เน้นและส่งเสริมการปฏิบัติกัมมัฎฐาน หรือเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่มหาเถรสมาคมประกาศขึ้นทะเบียน ก่อนจะมาเป็นวัดมหาพุทธาราม มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในการคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ (เฉพาะบางส่วน) อันเนื่องมาจากการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เพื่ออนุวัตรตามการปกครองฝ่ายบ้านเมือง ตามระบอบประชาธิปไตย โดยการจัดการบริหารราชการแผ่นดินแบบอธิปไตย ๓ คือ อำนาจนิติบัญญัติ ๑ อำนาจบริหาร ๑ อำนาจตุลาการ ๑ แต่ละฝ่ายต่างเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนคณะสงฆ์ ได้จัดระบบบริหารคณะสงฆ์คล้อยตามฝ่ายบ้านเมืองเป็น ๓ อำนาจ คือ อำนาจสังฆาณัติ (นิติบัญญัติ) ผ่านสังฆสภา ๑ อำนาจบริหาร ผ่านคณะสังฆมนตรี ๑ อำนาจตุลาการ ผ่านคณะวินัยธร ๑ ในส่วนการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง แบ่งออกเป็น ๔ องค์การ แต่ละองค์การ ให้มีสังฆมนตรีว่าการองค์การ ๆ ละ ๑ รูป ถ้าเห็นสมควรจะกำหนดให้มีสังฆมนตรีช่วยก็ได้ ดังนี้ ๑. องค์การปกครอง ๒. องค์การศึกษา ๓. องค์การเผยแผ่ ๔. องค์การสาธารณูปการ ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ในสังฆาณัติ เช่นให้ผู้ตรวจการภาค มีคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดโดยมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน และคณะกรรมการสงฆ์อำเภอโดยมีเจ้าคณะอำเภอเป็นประธานอนุวัตรตามการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง ยกเว้นระดับแขวง ระดับตำบล และวัด
การแปล กรุณารอสักครู่..