บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
ภัยแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ อันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำ ทำให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติเกิดความเสียหาย และความอดอยากทั่วไป ความแห้งแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง ทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้น ซึ่งหากปีใดที่ไม่มีพายุเคลื่อนผ่านเลยก็จะก่อให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรงมาก ขึ้น อันเนื่องมาจากฝนทิ้งช่วงยาวนาน โดยภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปีจะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องถึงเดือน กรกฎาคม ในช่วงดังกล่าวพืชไร่ที่เพาะปลูกจะขาดน้ำได้รับความเสียหายมนุษย์ - สัตว์ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพรวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ความรุนแรงจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และขนาดของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
2. เพื่อศึกษาผลกระทบการเกิดภัยแล้ง
3. เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกัน
ข้อตกลงเบื้องต้น
1.เพื่อให้ทราบถึงปัญหาของภัยแล้ง
2.เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกัน
ขอบเขตของการศึกษา
1.ระยะเวลาในการศึกษา 2 สัปดาห์
2.โดยสำรวจจาก
3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.ภัยแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้ง
2.ประสบ หมายถึง พบเห็น
3.ปัญหา หมายถึง ข้อที่ต้องพิจารณา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อศึกษาผลกระทบของปัญหาภัยแล้งว่าเป็นอย่างไรบ้าง
2. ทำให้รู้ถึงสถานการณ์ความยากลำบากของผู้ประสบภัย
3. ทำให้รู้จักว่าภัยแล้งคืออะไร
สมมติฐานของกาศึกษาค้นคว้า
1.เพื่อได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
2.เพื่อศึกษาข้อมูล สาเหตุ เนื้อหาแนวทางการป้องกัน
3.ศึกษาเพื่อรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น