1. วิจัยเราเกี่ยวกับอะไร
หากกล่าวถึงในทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู โดยมีพื้นที่ ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย อีกทั้ง ประเทศไทยยังมีพื้นที่ ที่มีทางออกสู่ทะเล จะเห็นได้ว่าเส้นทางการคมนาคมของประเทศไทยจะมีความได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ ซึ่งส่งผลดีในเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย
เพื่อต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงมีโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) โดยหนึ่งในเส้นทางที่มีการพัฒนานั้นก็คือ เส้นทาง เสนทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใตหรือเสนทาง North-South Economic Corridor (NSEC) R3E หรือ R3A
เปนเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงการขนสงทางบกระหว่างนครคุนหมิงกับกรุงเทพฯ มีระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร โดยผาน 3 ประเทศ คือจีนตอนใต (700 กิโลเมตร) สปป.ลาว (250 กิโลเมตร) และ ไทย (850 กิโลเมตร) และขณะนี้เสนทาง R3E ได้กอสรางเสรร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยในประเทศไทย จังหวัดที่มีเส้นทาง R3A ผ่านคือ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ กรุงเทพ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี อ.หาดใหญ่ สงขลา และนราธิวาส เส้นทาง R3E จะชวยลดเวลาการเดินทางระหวางนครคุนหมิง-กรุงเทพฯจาก 48 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง ทั้ง 3 ประเทศได้กําหนดนโยบายการพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจจากเส้นทางดังกล่าว โดยไทยได้กําหนดการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงรายและการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน (กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ ,2552 ) จึงทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจที่จะศึกษาการตั้งศูนย์กระจายสินค้าบนเส้นทางนี้ เนื่องจากเส้นทาง R2A เป็นเส้นทางที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจมาก โดยจะส่งผลให้หลายจังหวัดของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และยังส่งผลกระทบทางการค้าที่จะช่วยให้การค้าระหว่างภูมิภาคตามเส้นทาง R3A ขยายตัวขึ้น
หน้าที่สำคัญของศูนย์กระจายสินค้า คือ เป็นแหล่งในการรวบรวม แบ่ง บรรจุ คัดเลือก ให้เหมาะสม กับประเภทยานพาหนะที่จะใช้ในการขนส่งให้กับลูกค้า ซึ่งจะมีความแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อมโดยพันธกิจที่สำคัญของศูนย์กระจายสินค้าจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์ของข้อมูลข่าวสาร , การจัดเก็บสินค้า (Storage) และบรรจุภัณฑ์ (Packaging) รวมทั้งการจัดการประเภทของการขนส่ง (Mode of Transport) โดยมีหน้าที่หลักคือ การวางแผนการส่งมอบสินค้า (Delivery Load Planning) เพื่อให้ส่งสินค้าที่ถูกต้องในเวลาที่เหมะสมไปสู่ลูกค้าตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ
การพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์การเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเมื่อสร้างแล้วไม่สามารถย้ายได้หรือจะหาผู้เช่าคลังสินค้าก็ไม่ง่าย เนื่องจากคลังสินค้าแต่ละแห่งก็จะเหมาะสมกับสินค้าเฉพาะอย่าง ดังนั้น จะต้องวางแผนเป็นอย่างดีเนื่องจากการก่อสร้างคลังสินค้าใหม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและยิ่งไปกว่านั้นทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมยังมีผลโดยตรงในระยะยาวต่อต้นทุนด้านต่างๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าแรงงานค่าสาธารณูปโภค และค่าการติดต่อสื่อสาร
จะเห็นได้ว่าสินค้าของแต่ละประเทศบนเส้นทางเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ–ใต้ (R2) นั้น ประกอบไปด้วยสินค้าที่เป็นผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม อาทิ เช่น ผลไม้ ข้าว กาแฟ ยางพารา มันสำปะหลัง และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
โดยมันสำปะหลังเป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง เป็นพืชอาหารสำคัญของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ส่วนในทวีปเอเชีย ประเทศอินโดนีเซีย และอินเดีย มีการบริโภคมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก
มันสำปะหลังเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นที่นิยมของเกษตรกรที่ยากจน
โดยประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้หลายรูปแบบ เช่น มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ทั้งในรูปของแป้งดิบและแป้งแปรรูป เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 70 ส่วนในตลาด ASEAN นั้นประเทศไทยสามารถครองอันดับ 1 ในการส่งออกมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี รองลงมาคือ กัมพูชา และเวียดนาม
การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลทางด้านบวกกับสินค้าเกษตรอย่างมันสำปะหลังเพียงรายการเดียว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้มากที่สุดในอาเซียน โดยครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าประเทศ คู่แข่งอย่าง เวียดนามและอินโดนีเซียค่อนข้างมาก ประกอบกับไทยมีต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ต่ำกว่า รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลังในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรงงานแป้งมัน โรงงานแป้งแปรรูป
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการตั้งศูนย์กระจายสินค้าของมันสำปะหลัง เพื่อพัฒนาศักยภาพของการผลิต การจัดเก็บ และการกระจายสินค้าประเภทมันสำปะหลัง เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบการกระจายสินค้าประเภทมันสำปะหลังที่มีมาตรฐานสามารถครอบคลุมทั่วโลก และสามารถครองตลาดมันสำปะหลังของโลกสืบต่อไปในอนาคต