ข้าวไรซ์เบอรี่
กำเนิดของข้าวไรซ์เบอร์รี่นี้ ถือได้ว่า เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ม. เกษตรศาสตร์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวที่เกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งได้มาจากการผสมข้ามพันธ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งถือว่าเป็นพันธุ์พ่อ และ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่เป็นพันธุ์แม่ โดยได้ลักษณะที่ดีและเด่นออกมาเป็นข้าวไรซ์เบอรี่ที่มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม ( เหมือนลูกเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก ) เมล็ดข้าวเรียวยาว ผิวมันวาว
มีลักษณะเด่นคือ เป็นข้าวสีม่วงโดยธรรมชาติ นั่นแสดงว่ามีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นรงค์วัตถุหรือสารให้สีตามธรรมชาติ ซึ่งให้สีกับส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ใน ราก ลำต้น จนถึงผลและเมล็ด โดยที่สารแอนโทไซยานิน ของข้าวไรซ์เบอร์รี่จะพบที่ pericarb ของรำข้าวไรซ์เบอรี่ ( Riceberry Bran )ซึ่งสารแอนโทไซยานินนี้ มีความสามารถในการละลายในน้ำได้ ซึ่งจัดอยู่กลุ่มของฟลาโวนอยด์ ( flavonoid) โดยมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสะที่ให้สีม่วง แดงเข้ม โดยทั่วไปแล้วสีของแอนโทไซยานินนั้นจะมีการเปลี่ยนไปตามความเป็นกรดเป็นด่าง กล่าวคือ เมื่ออยู่สภาวะความเป็นเมื่ออยู่ในสภาวะความเป็นกรดจะมีสีแดงเข้ม แต่หากอยู่ในสภาวะความเป็นกลางจะมีสีม่วง และเมื่ออยู่ในสภาวะความเป็นด่างก็จะมีน้ำเงินถึงน้ำเงินเข้ม สีม่วงในข้าวไรซ์เบอร์รี่นี้ มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ซึ่งจากการศึกษาและวิจัยพบว่าประโยชน์ของแอนโทไซยานิน มีดังนี้
1.ช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง กว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า
2.ช่วยลดอาการอักเสบ
3.ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวได้
ช่วยชะลอการเกิดโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด
ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ช่วยป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้และตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและ มะเร็งของระบบสืบพันธุ์
ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ซึ่งจะก่อให้เกิดการแก่ก่อนวัย
ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นและชะลอความเสื่อมของดวงตา
ช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดท้องเสีย ช่วยต้านไวรัสและแบคทีเรียบางประเภทได้
( ชาวนาป้ายแดง / มกราคม 14, 2014)
ธัญพืช
ธัญพืช เป็นเมล็ดของพืชพันธุ์ตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว เป็นพืชที่เรารับประทานมาแต่โบราณ แต่เนื่องจากการปฏิวัติของระบบเกษตรกรรม ประกอบกับเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งการหาเมล็ดธัญญาหารบริโภคได้ยากขึ้น ทำให้เราหันมาใช้อาหารสำเร็จรูป จนลืมอาหารที่มีสำคัญคือธัญพืชนี้ไปเสีย เมื่อถามเด็กรุ่นใหม่ จึงไม่รู้จักคำนี้ เพราะคุณค่าของธัญพืชถูกลบเลือนไป จึงเป็นที่มา อย่างหนึ่งของโรคภัยไข้เจ็บ ข้อได้เปรียบของธัญพืชคือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นแบบเชิงซ้อน (โพลีแซคคาไรด์) จะต้องถูกย่อยช้ากว่า คือโครงสร้างจะต้องถูกย่อยให้แตกสลายก่อน อีกทั้งมีเส้นใยอาหารของธัญพืชเต็มรูป การดูดซึมก็จะช้าลง น้ำตาลจะไม่สูงแบบพรวดพลาดหรือค่อนข้างต่ำ ดังนั้นด้วยการบริโภคธัญพืชเต็มรูป จะมีเส้นใยที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ประกอบกับปริมาณวิตามินที่สูงและแร่ธาตุที่มีอยู่ ทำให้การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้ประโยชน์มากกว่า เส้นใยอาหารมีอยู่ในธัญพืชเต็มรูปไม่ละลายน้ำ จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด เร่งการเดินทางของอาหารผ่านลำไส้เพื่อให้เกิดเนื้อของอุจจาระและดูดซึมน้ำ ลดปริมาณแบคทีเรียที่ชอบอากาศในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เช่นเดียวกับลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล กลูโคส และกรดไขมัน (บทความ : รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด)
ถั่วเหลือง
รสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแ