อำเภอเด่นชัย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเด่นชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงต่อไปนี้
ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอสูงเม่น
ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอสูงเม่น และอำเภอท่าปลา(จังหวัดอุตรดิตถ์)
ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเมืองอุตรดิตถ์และอำเภอลับแล(จังหวัดอุตรดิตถ์)
ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอวังชิ้นและอำเภอลอง
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเด่นชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 52 หมู่บ้าน ได้แก่
1.เด่นชัย (Den Chai) 11 หมู่บ้าน
2.แม่จั๊วะ (Mae Chua) 10 หมู่บ้าน
3.ไทรย้อย (Sai Yoi) 12 หมู่บ้าน
4.ห้วยไร่ (Huai Rai) 9 หมู่บ้าน
5.ปงป่าหวาย (Pong Pa Wai) 10 หมู่บ้าน
เด่นชัยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดแพร่ ทั้งทางถนน และ ทางรถไฟ มีสถานีรถไฟเด่นชัยเป็นสถานีประจำจังหวัดแพร่ และ ถนนที่เชื่อมไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือตอนบนและกรุงเทพมหานคร
ที่มา : http://th.wikipedia.org.
คำขวัญจังหวัด
หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม
คำขวัญอำเภอ
พระเจ้าแสนแซ่คู่บ้าน พระธาตุสุโทนคู่เมือง ประตูล้านนาลือเลื่อง
ของพื้นเมืองไม้กวาด เด่นชัยสะอาดงามตา
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ 593 ม.8 ถ.ยันตรกิจโกศล ต.เด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัด แพร่
หมายเลขโทรศัพท์ 0-5461-3386
หมายเลขโทรสาร 0-5461-3386
เว็บไซต์อำเภอ Districk_Denchai@gmail.com
1.ประวัติความเป็นมา
เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอสูงเม่น ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอในปีพ.ศ.2506 เคยมีประวัติว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีชาวเงี้ยวเข้ามาขุดพลอยที่ดอยปกกะโล้ง
(ปัจจุบันคือที่ตั้งบ้านบ่อแก้ว ม.4 ต.ไทรย้อย) และต่อมาสมัครพรรคพวกเข้าปล้นเมืองแพร่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้พระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพปราบพวกเงี้ยวโดยได้ตั้งค่ายทัพที่บ้านเด่นทัพชัย และทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้เป็นผลสำเร็จ จึงให้ชื่อค่ายว่า "ค่ายเด่นทัพชัย" ต่อมาได้ยกฐานะเป็นตำบลเด่นชัย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อ.เด่นชัย เป็นที่ตั้งของกองทัพทหารพรานก่อนที่จะถอยกำลังไปรวมกับจังหวัดทหารบกลำปาง เมื่อ พ.ศ.2476 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพทหารม้าที่ 12
ค่ายพระยาไชยบูรณ์ เด่นชัยเริ่มความสำคัญทางการคมนาคม เมื่อทางรถไฟตัดผ่านไปจังหวัดลำปาง
การเดินทางเข้าสู่จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย จำเป็นต้องขึ้นรถที่อำเภอ จึงทำให้อำเภอเด่นชัยเป็นชุมทางที่สำคัญ ปัจจุบันการคมนาคมทางรถยนต์สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีทางหลวงแผ่นดินสร้างขึ้นมาใหม่หลายสายจึงมีความสำคัญลดลงไปบ้าง
2.เนื้อที่/พื้นที่ 547.85 ตร.กม.
ข้อมูลการปกครอง
1.ตำบล 5 แห่ง
2.หมู่บ้าน 52 แห่ง
3.เทศบาล 3 แห่ง
4.อบต 4 แห่ง
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม รับจ้าง
2.อาชีพเสริม ได้แก่ อุตสาหกรรมในครัวเรือน
3.จำนวนธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ ธนาคารออมสิน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ ไม้สัก
ด้านการคมนาคม
1.ทางบก
- รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์ 0-5461-4102
- สถานีรถไฟ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5461-3260-1
2.ทางน้ำ
- ท่าเรือขนส่งโดยสาร
- ท่าแพขนานยนต์
3.ทางอากาศ
- ท่าอากาศยาน
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ (แม่น้ำ/บึง/คลอง) แม่น้ำยม แม่น้ำแม่พวก
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่
โรงงานปาเก้ ม.11 ต.เด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
โรงงานกระดาษสา ม.5 ต.เด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
โรงงานผลไม้กระป๋อง ม.2 ต.เด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
โรงงานอบไอน้ำเพื่อกำจัดโรคและแมลงในการส่งออกผลไม้ ม.10 ต.แม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ที่มา : http://www.amphoe.com
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเด่นชัย
1.สวนองุ่นอ้อมทอง
รายละเอียด
ไร่องุ่นสวยบนเนื้อที่กว้าง และสวนทานตะวันเปิดให้เที่ยวชม และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บรรยากาศดีไม่ห่างไกลมากนักกับตัวเมืองแพร่และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ เราคัดเลือกองุ่นสายพันธุ์ดี รสชาติอร่อย หวานกรอบ ไว้คอยต้อนรับเพื่อเป็นของฝากเพื่อนฝูง ญาติมิตร
ที่ตั้ง
อำเภอเด่นชัย
ประเภทการท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
บรรยากาศภายในสวนองุ่น
2.วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีฯ
รายละเอียด
วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีเป็นวัดใหม่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2520 มีศิลปะการก่อสร้างเป็นศิลปกรรมแบบไทยเหนือ มีความสวยงามและอลังการ
ที่ตั้ง
อำเภอเด่นชัย
ประเภทการท่องเที่ยว
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
3.วัดถ้ำผาตั้ง
วัดถ้ำผาตั้งแต่ก่อนเป็นถ้ำแฝดแต่มีชาวบ้านได้ระเบิดถ้ำไปหนึ่งลูกเพื่อเอาหินผาไปทำเป็นปูขาวและต่อมาได้มีพระธุดงค์เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่ในถ้ำและได้พัฒนาถ้ำจนเป็นวัดถ้ำถึงปัจจุบันนี้
ที่มา : http://student.nu.ac.th.