เรียงความเกาะช้าง....เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอับดับสองของประเทศไทย ที่ลองลงมาจาก จ.ภูเก็ต ในเกาะช้างซึ่งมีบางคนหรือไม่ก้อคนอีกหลายคนที่ยังไม่เคยไปและยังไม่เคยได้สัมพัสกับมันเอง เกาะช้าง มันความงานทางด้านธรรมชาติมาก แต่ปัจจุบันนี้มันรู้สึกว่า ความเป็นธรรมชาติมันจะรู้สึกว่าน้อยไปจากเดิมมาก เพราะการรุกร้ำของคน
เกาะช้างเป็น เกาะที่มีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อนคือไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีคลื่นลมแรงไม่เหมาะสมที่จะเดินทางได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูง ๗๔๔ เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ สถานที่น่าสนใจบนเกาะ ได้แก่
บริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง น่านน้ำทะเลตราดบริเวณอ่าวสลักเพชร อ่าวสลักคอก ยังเป็นอีกหน้าหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔ กองทัพเรือไทยสามารถขับไล่ผู้รุกรานให้ล่าถอยไปได้ หากไทยต้องสูญเสียกองเรือ และทหารกล้าไปจำนวนหนึ่ง วีรกรรมทหารเรือไทยได้รับการจดจารึก และรำลึกถึงวันที่ ๑๗ มกราคมของทุกปี ณ อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ
เกาะง่ามกลายเป็นจุดปะทะจุดแรกระหว่างกองทัพเรือไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินเข้ามาลาดตระเวน และทิ้งระเบิดบนเกาะนี้ ส่วนเกาะหวายคือ จุดที่เครื่องบินลาดตระเวนของฝรั่งเศสถูกเรือรบหลวงสงขลา และเรือรบหลวงชลบุรียิงตกกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส ๗ ลำรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะช้าง นำโดยเรือลาดตระเวนลามอตต์ ปิเกต์ เรือสลุบ ๒ ลำ เรือปืน ๔ ลำ แยกออกเป็น ๓ หมู่ หมู่ ๑ มีเรือลามอตต์ ปิเกต์ลำเดียวรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้ของเกาะหวาย และเกาะใบตั้ง หมู่ ๒ มีเรือสลุป ๑ ลำ เรือปืน ๑ ลำ เข้ามาทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ ๓ มีเรือสลุป ๑ ลำ เรือปืน ๓ ลำ เข้ามาทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้าเกาะไม้ซี่เป็นเขตปะทะระหว่างเรือลามอตต์ ปิเกต์กับเรือรบหลวงธนบุรีที่จอดประจำการอยู่ที่เกาะลิ่ม และได้เข้ามาช่วยเหลือเรือรบหลวงสงขลา และเรือรบหลวงชลบุรีที่ถูกยิงเสียหายจนจมสู่ท้องทะเลบริเวณอ่าวสลักเพชร และอ่าวสลักคอก ในที่สุดเรือรบหลวงธนบุรีถูกยิงเสียหายอย่างหนัก จนแล่นมาเกยตื้น และจมลงบริเวณแหลมงอบ
น้ำตกธารมะยม อยู่หลังที่ทำการอุทยานฯ เดินผ่านสวนเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จประพาสมายังน้ำตกนี้ โดยมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ วปร. สลักอยู่ที่หน้าผาน้ำตกชั้นบน
เกาะช้างน้อย และ แหลมช้างน้อย อยู่ทางด้านเหนือของเกาะช้าง ท้องน้ำระหว่างแหลมช้างน้อยกับเกาะช้างน้อยจะมีแนวปะการังอยู่ด้วย
น้ำตกคลองพลู เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สวยงามที่สุดของเกาะช้าง มีน้ำตกไหลผ่านหน้าผาลงแอ่งเบื้องล่าง น้ำตกมี ๓ ชั้น ทางเข้าอยู่ห่างจากอ่าวคลองพร้าว ๓ กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินป่าอีกประมาณ ๒๐ นาที
น้ำตกคลองนนทรี เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีทางเดินเท้าจากบ้านด่านใหม่ตามทางเดินเท้า ๓ กิโลเมตร หรือจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร
ซึ่งมันยังมีมากกว่านี้อีก คนที่เป็นคอธรรมชาติ ซึ่งไม่ควรที่จะพาดได้เลย ผมจึงเลือกจักเรื่องที่ในการจัดแสดงแหล่งวิทยาการการเรียนรู้ และอีกอย่างตอนนี้ธรรมชาติมันจะลดลง ผมจึงอยากให้ผู้คนได้ไปเกาะช้าง ก่อนที่ธรรมชาติดีดีมันจะหายไปจะเหลือแต่เพียงเรื่องเล่า