ความเชื่อในการทำงาน เปรียบเสมือนชิพที่ผังอยู่ในตัวคน เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากจะเปลี่ยนชิพใหม่ลงไปแทน เช่น ถ้าคนที่เชื่อว่าผีมีจริง จะไปพิสูจน์อะไรอย่างไรก็คงจะยากที่จะเปลี่ยนความเชื่อนี้ได้ เพราะความเชื่อมีอิทธิพลต่อชีวิตสูงกว่าข้อมูลข้อเท็จจริงหรือหลักฐาน เพราะความเชื่อมันฝังรากลึกในทุกอณูของชีวิต ไม่เหมือนข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ชีวิตรับรู้จากการได้ยิน การเห็น การสัมผัส เท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะไปลบล้างความเชื่อที่สัมผัสได้ด้วยจิตและวิญญาณ นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างของความเชื่อที่มีผลต่อแนวคิดและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนอีกหลายเรื่อง
ความพึงพอใจช่วยสร้างเสริมคุณภาพชีวิต การได้ทำงานที่ตนเองชอบทำให้เกิดความสุขใจ สุขภาพจิตดี และการทำงานสร้างความรู้สึกในคุณค่าของตน ตลอดจนตอบสนองความต้องการความสำเร็จได้และยังช่วยป้องกันความห่างเหินจากงาน ถ้าบุคคลไม่พอใจในงานจะกลายเป็นความขัดแย้งกับงาน เกิดความผิดหวังและห่างเหินจากงานในที่สุด
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน
(๑) ปัจจัยด้านบุคคล
- ประสบการณ์ในการทำงาน เมื่อบุคคลทำงานมานานจนมีความรู้ความชำนาญในงานนั้นมากขึ้น จะเกิดความพึงพอใจกับงานที่ทำ หรือพอใจงานใหม่ที่ใกล้เคียงประสบการณ์เดิม
- กลุ่มสมาชิกในความรับผิดชอบ กลุ่มที่ทำงานด้วยกัน มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานงานซึ่งต้องการความสามารถหลายอย่างประกอบกัน ต้องมีสมาชิกที่มีทักษะในงานหลายด้าน และความสามัคคีปรองดองกันของสมาชิกจะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน เป็นต้น
(๒) ปัจจัยด้านงาน
ลักษณะงาน ได้แก่ความน่าสนใจ ความท้าทาย ความแปลก โอกาสที่จะได้เรียนรู้และศึกษางาน โอกาสที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จ การรับรู้หน้าที่รับผิดชอบ การควบคุมการทำงานและวิธีการทำงาน การที่ผู้ทำงานมีความรู้สึกต่องานที่ทำอยู่ว่า เป็นงานที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ท้าทาย สิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน มีความต้องการที่จะปฏิบัติงานนั้น ๆ และเกิดความผูกพันต่องาน เป็นต้น
(๓) ปัจจัยด้านการจัดการ
- ความมั่นคงในงาน พนักงานมีความต้องการงานที่มีความแน่นอนมั่นคง บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน เช่น บริษัทในประเทศญี่ปุ่นตระหนักถึงความมั่นคงของงาน คือมีการจ้างงานตลอดชีวิต ความมั่นคงในงานถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง
- รายรับ ฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการของบริษัทเชื่อมั่นว่า รายรับที่ดีของพนักงานจะเยียวยาโรคไม่พอใจในงานผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานของรัฐลาออกไปสู่ภาคเอกชนก็เพราะรายรับที่ดีกว่า เป็นต้น
สรุป
ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อก่อนเรื่องหลักการ แนวคิด ความรู้และความสามารถ เพราะความเชื่อเป็นตัวกำหนดวิถีในการดำเนินชีวิตของคน เพราะถ้าคนเชื่อ คนก็จะปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ ถ้าทำได้ภาระต่างๆในการบริหารคนขององค์กรก็จะลดลง เพราะคนทำงานสามารถทำงานให้สอดคล้องกับความเชื่อได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีใครมากำกับควบคุมด้วยเป้าหมายของงานหรือพฤติกรรมในการทำงานเหมือนในอดีตและปัจจุบัน และการที่จะนำเอาแนวคิดนี้ไปใช้ในองค์กรสิ่งแรกที่เกิดขึ้นก่อนคือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะต้องเกิดความเชื่อต่อแนวคิดที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ก่อน