ประวัติถ้ำปุ่มถ้ำปลา
ถ้ำปุ่ม ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ 11 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเ provinceชียงราย
ตำนานถ้ำปลา ตามตำนานโยนกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์และออกบิณฑบาตที่เมืองโยนกนาคะนครไชยบุรีศรีช้างแสน ได้ดำเนินเลียบเชิงเขามายังถ้ำลอดเปลวปล่องฟ้า ปรากฏว่ามีชาวบ้านนำปลาหนีบไม้ปิ้งมาใส่บาตร ได้ทรงอธิฐานให้ปลากลับมีชีวิตแล้วปล่อยลงรูเหวในถ้ำเปลวปล่องฟ้า พระอานนท์ก็เทน้ำออกจากบาตร เกิดเป็นธารน้ำไหลออกมาทางหน้าผาด้านตะวันออก เกิดเป็นถ้ำปลา จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำก้อนหินปิดรูเหวที่เทน้ำลงไป และนำเส้นพระเกศาไว้ในหินให้เป็นที่สักการะบูชาของคนต่อไป จนกระทั้งราวพุทธศตวรรษที่ 15 เจ้าอุชุตราช ผู้ครองโยนกนคร ได้สถาปนาพระเจดีย์และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในถ้ำปลา
ลักษณะของถ้ำปุ่ม
ถ้ำปุ่ม มีลักษณะเป็นถ้ำที่อยู่บนหน้าผาสูงจากพื้นดิน ประมาณ 30 เมตร ทางขึ้นเป็นบันได 73 ขั้น ลึกประมาณ 132 เมตร ถ้ำปุ่มนี้มีลักษณะเด่น คือ บริเวณเหนือทางเดินก่อนเข้าถ้ำปุ่ม จะปรากฎรูปปั้นสิงห์ อายุประมาณ 200 ปี ตั้งเด่นตรงหน้าหันหน้าไปทางทิศเหนือสูงขึ้นไป ประมาณ 16 เมตร นอกจากนี้ภายในถ้ำปุ่มยังมีหินงอกเป็นปุ่ม (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) เด่นชัดชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำปุ่ม ภายใน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้นักท่องเที่ยวมาสักการะบูชาด้วยภายในถ้ำปุ่ม เมื่อเดินเข้าไประยะประมาณ 60 เมตรจะมีทางเดินด้านขวามือจะพบหน้าผาสูงประมาณ 3.80 เมตรกว้างประมาณ 1.50 เมตร มีลักษณะเป็นหินย้อยติดหน้าผาติดต่อกันคล้ายน้ำตกสวยงามมาก เมื่อเดินเข้าไประยะทางประมาณ 88 เมตรจะมีทางเดินแยกทางขวามือสามารถทะลุออกทางเดินเดิมอีกด้านหนึ่งได้ในลักษณะครึ่งวงกลม ระหว่างทางนี้จะมีบ่อน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บ่อน้ำทิพย์” มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร ต่อจากนั้นที่ระยะทางประมาณ 110 เมตร จะพบแนวหินย้อยเป็นริ้วติดต่อกับเกาะติดผนังถ้ำเป็นทางยาวติดต่อกันเป็นสีขาวคล้ายน้ำตกสวยงามมากและบริเวณปลายสุดของถ้ำมีพระพุทธรูปปางสมาธิตั้งเด่นเป็นสง่าให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา