The cover is a remnant of the mayang leak remove rubber (rubber in early means) then leak detection by pumping compressed air into the tire,. Then remove the rubber down to soak in water to see him pop up a ghost. When a leak is found, remove the tube from the water, dry thoroughly, then use sandpaper or a RASP to come rub on blotch leaked. To remove a RASP or sandpaper, rubbing the skin, wipe tire comes around that is to make wound joints clean the surface of the resin or oil stain-free, it is an adjacent island of barriers, which were coordinated by the adhesive rubber. หากเป็นการปะแบบสติมเย็น ซึ่งมักจะใช้กับรถจักรยาน เพราะมีขีดความสามารถในการทนต่อความร้อนได้ต่ำ รับแรงดันลมได้ไม่มากนัก และรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อย แต่มีราคาค่าปะยางถูกมาก การปะแบบสติมเย็นนั้นต้องมียางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว โดยปกติก็จะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว เอามาตัดด้วยกรรไกรให้มีขนาดแผ่นโตกว่ารูที่รั่วสักหน่อย ทั้งนี้รอยหรือรูที่รั่วนั้นต้องเกิดจากการทิ่มตำของของมีคมขนาดเล็กเท่านั้น เพราะสติมเย็นไม่สามารถปะยางที่มีรูรั่วขนาดใหญ่ได้ ทำความสะอาดรอบแผลที่มีการรั่วเรียบร้อยแล้ว ก็ตัดยางอีกแผ่นหนึ่งส่วนใหญ่มีขนาดโตกว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อย แล้วเอากระดาษทรายหรือตะไบมาถูทำความสะอาดยางแผ่นดังกล่าวที่ด้านในของเนื้อยาง หลังจากพบว่าทั้งยางที่ต้องการปะและยางแผ่นที่จะนำมาปะอุดรูรั่วถูกทำความสะอาดพื้นผิวดีแล้ว จึงเอากาวสำหรับประสานยาง ที่นิยมกันมากก็คือกาวยี่ห้อ 3K นำกาวมาทาไล้บางๆ ที่บริเวณซึ่งทำความสะอาดไว้แล้วทั้งที่ยางที่รั่วและแผ่นยางที่จะนำมาปะ รอสัก 1-2 นาที พอเห็นว่ากาวแห้งหมาดดีแล้ว จึงเอาแผ่นยางวางทาบปะลงไปบนยางที่รั่ว ให้ส่วนที่ทากาวทับตรงรอยกันพอดี แล้วใช้มือดึงเบาๆ ตรงส่วนที่ปะทับกันอยู่นั่น เพื่อให้ยางทั้งสองชิ้นยืดและขยายตัวกดเข้าหากัน แล้วจึงวางยางลง จากนั้นก็หาค้อนมาทุบเบาๆ ลงไปตรงบริเวณที่ปะเพื่อให้ยางทับปิดกันสนิทมากยิ่งขึ้น ทิ้งไว้อีกสัก 5 นาที พอกาวแห้งสนิทดีแล้วก็สามารถนำยางไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป ส่วนการปะแบบสติมร้อนนั้นก็ทำคล้ายกันในขั้นตอนแรก คือทำความสะอาดรอบรอยแผลที่ถูกของมีคมทิ่มตำจนรั่วด้วยกระดาษทรายหรือตะไบ แต่ยางที่นำมาปะจะเป็นยางชนิดพิเศษทำสำเร็จสำหรับรถจักรยานยนต์ คือเป็นแผ่นยางที่ด้านหลังติดมากับแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ส่วนอีกด้านหนึ่งของแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น จะมีเชื้อไฟสำเร็จรูปติดมาด้วย เมื่อต้องการปะก็จะเอาด้านหน้าของยางวางทาบลงไปตรงแผลที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว แล้วใช้เครื่องกดแผ่นยางให้ติดแน่นทับกันสนิท จากนั้นก็จุดไฟบนหลังแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
รอจนไฟที่ถูกจุดขึ้นมาลุกไหม้ไปทั่วทั้งแผ่นเหล็กและมอดดับลงหมด ทิ้งไว้อย่างนั้นอีกประมาณ 2-3 นาที จึงทำการดึงเอาแผ่นเหล็กออกจากแผ่นยางที่นำมาปะ ยางที่นำมาปะจะถูกความร้อนหลอมละลายและมีแรงกดจากเครื่องมือ กดให้ติดสนิทแน่นกันกับยางที่รั่ว และสามารถนำไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป
ส่วนยางรถยนต์ไม่ว่าจะมียางในหรือไม่มียางในก็ตาม จะต้องใช้การปะแบบสติมร้อนเท่านั้น ด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับสติมร้อนยางมอเตอร์ไซค์ แต่ใช้เครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และใช้อุปกรณ์ที่ต่างกันออกไป ข้อดีของการปะแบบสติมร้อนคือแผลจะติดสนิทแน่นหนาดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก สูบลมได้เต็มที่
ข้อเสียของสติมร้อนก็คือ ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ หากเป็นยางแบบไม่มียางใน ส่วนยางที่มียางในก็จะเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณแผลปะที่ถูกความร้อน จนกระทั่งมีการนำเอากรรมวิธีการปะยางแบบที่เรียกกันว่า “สอดไส้” มาใช้ วิธีการดังกล่าวคือการเอายางที่รั่วมาถอนเอาของแข็งที่ทิ่มแทงออกไป แล้วใช้ตะไบหางหนูมาแทงแยงเข้าไปตรงรูที่รั่วเพื่อทำความสะอาด จากนั้นจึงใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงไปบนน้ำยาที่มีส่วนผสมของยางดิบและกาวสำหรับประสาน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือแทงยัดเส้นยางดังกล่าวอัดเข้าไปในรูแผลรั่วนั้น
ข้อดีของการปะแบบนี้คือไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ สามารถปะได้โดยไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ทำให้นอตล้อและกระทะล้อไม่ช้ำ ใช้เวลาการปะรวดเร็ว สามารถถ่วงล้อได้ง่าย ข้อเสียคือใช้ได้กับยางที่ไม่มียางในเท่านั้น และรับน้ำหนักมากๆ หรือทนความร้อนสูงๆ สู้แบบสติมร้อนไม่ได้ครับ
การแปล กรุณารอสักครู่..