ขี้ควาย ฯลฯ
ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อย ๆ จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาทและถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้
1. องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งยาหรือสารเสพติด ออกเป็น
- ประเภทฝิ่น หรือมอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทธีดีน - ประเภทบาร์บิตูเรต รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีโฮด์ เมโปรมาเมต ไดอะซีแพม คลอดไดอะซีป๊อกไซด์ - ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ - ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน (ยาม้า) เดซ์แอมเฟตามีน - ประเภทโคเคน เช่น โคเคน ใบโคคา - ประเภทกัญชา เช่น ยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย - ประเภทคัด (KHAT) เช่น ใบคัด ใบกระท่อม - ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ลำโพง เห็นเมาบางชนิด นอกจากนั้นทางกฎหมาย ยังได้กำหนด "วัตถุออกฤทธิ์" ซึ่งตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แบ่งวัตถุออกฤทธิ์ ออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
• ประเภทที่ ๑ เช่น อีอีที (DET) แอลเอสดี (LSD) ๓-๔ เมทิลลินไดออกซิเมท แอมเฟตามีน (๓,๔ - methylenedioxymethamphtamine, MDMA
• ประเภทที่ ๒ เช่น แอมเฟตามีน (Amphetamine) เซโคบาร์บิตาล (Secobarbital) เลโวเมทแอมเฟตามีน (Levomethamphetamine)
• ประเภทที่ ๓ เช่น อะโมบาร์บิตาล (Amobarbital) ไซโคลบาร์บิตาล (Cyclobarbital) คาทิน (Cathine) ประเภทที่ ๔ เช่น แอมฟรีพราโมน (Amfepramone) บาร์บิตาล (Barbital) โพโรวาเลโรน (Pyroalerone
ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ที่แพร่ระบาดในสังคมไทย
• มอร์ฟีน (MORPHINE)
• โฮโรอีน (HEROIN)
• โคเคน (COCAINE)
• กัญชา (CANNABIS)
• กระท่อม (KRATOM)
• เห็ดขี้ควาย (PSILOCYBE CUBENSIS MUSHROOM)
• แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE)
• อีเฟดรีน (EPHEDINE)
• แอลเอสดี (LSD)
• บาร์บิทูเรต (BARBITIRATE)
• สารระเหย (VOLATILE SOLVENT)
• สุรา (Alcohol)
• บุหรี่
ฝิ่น (OPIUM)
ลักษณะทั่วไป
ต้นฝิ่นเป็นพืชล้มลุก นิยมปลูกกันทางภาคเหนือของประเทศไทย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตราพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) ฝิ่น มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่าฝิ่นดิบ และหากนำฝิ่นดิบมาต้ม เคี่ยวหรือหมัก จะได้ฝิ่น ที่มีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว เรียกวาฝิ่นสุก ทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก มีฤทธิ์ในการ กดระบบประสาท ในอดีตทางการแพทย์ใช้เป็นยาระงับอาการปวด แก้โรคท้องเดินและไอ
อาการผู้เสพติดฝิ่น
ผู้ที่เสพฝิ่น ขณะที่เสพฝิ่นเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจาวกไปวนมา อารมณ์ดี ความและการตัดสินใจเชื่องช้า
ผู้ที่เสพฝิ่นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ดวงตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงเหลาหาวนอน เกียจคร้าน อารมณ์แปรปรวนง่าย พูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกตัว และหากไม่ได้เสพฝิ่นเมื่อถึงเวลาจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย บางรายมีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง
มอร์ฟีน (MORPHINE)
ลักษณะทั่วไป
เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย (จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒) มีฤทธิ์ในการกดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ ๘-๑๐ เท่า เสพติดได้ง่าย มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีเครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ำบรรจุหลอด
อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน
ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวล คลายความเจ็บปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่าย และหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคร้านไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบกายสุขภาพร่างกายผ่ายผอม ทรุดโทรม และเมื่อไม่ได้เสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสนพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและหมดสติในที่สุด