Food and beverage service (Food and Beverage Service) Food and beverage service staff will differ from the kitchen staff is one of the service have the opportunity to contact guests directly, while most kitchen Department, there is no chance of Loei. Services, or how to serve is important, richer flavor or quality of the food, and some people even think that the charges, more importantly than the food again, but both, it must be a good parallel to the tongoroi it is better with. The restaurant is at guest satisfaction. Staff polite and friendly, smiling face is regarded as the most valuable asset of the restaurant once and for all. Waiter (Waiter/Waitress male/female) A waitress who need the skill or expertise in the work? For example, to scoop food from a big bowl, the guest by lap and hard, using cutlery and plates with 3-4 leaves are the food without feeding six, etc. นอกจากนี้ พนักงานเสิร์ฟยังต้องมีทักษะในการติดต่อกับคน เพราะต้องพูดจาติดต่อกับแขกที่มาใช้บริการของห้องอาหาร กล่าวกันว่า พนักงานเสิร์ฟทั้งหลายเปรียบเหมือนเป็น “กองกำลังหรือหน่วยขายอาหาร” ( Salesforce of food) ทีเดียว เนื่องจากมีหน้าที่แนะนำหรือขายสินค้าอันได้แก่อาหารที่แผนกครัวทำขึ้นมาแก่ลูกค้า พนักงานเสิร์ฟจะชนะใจลูกค้าได้ด้วยการรู้จักกาละเทศะ มีเสน่ห์น่าพูดคุยด้วย ทำงานคล่องแคล่ว และรอบรู้ในงานที่ตัวเองทำอยู่ (คือสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าว่าควรเลือกสั่งอาหารอะไร และยังสามารถอธิบายให้ลูกค้าฟังว่าอาหารจานนั้นมีวิธีปรุงอย่างไรด้วย) พนักงานเสิร์ฟจะต้องพร้อมที่จะให้บริการเมื่อแขกต้องการ และถอยห่างออกมายืนอยู่เงียบ ๆ ในขณะที่ลูกค้าไม่ต้องการบริการอะไร การบริหารที่ดียังหมายรวมถึงจังหวะที่เหมาะสมในการให้บริการด้วย เช่น เมื่อแขกต้องการอะไรก็รีบสนองตอบอย่างรวดเร็วทันใจ เป็นต้น พนักงานเสิร์ฟควรจะล่วงรู้ว่าแขกกำลังต้องการอะไรก่อนที่แขกจะเอ่ยปากขอ นอกจากนี้พนักงานเสิร์ฟควรจะเตรียมงานล่วงหน้าไป 1 ขั้นเสมอ เช่นการรีบไปบอกแผนกครัวว่ามีแขกกลุ่มใหญ่เข้ามาแล้ว เพื่อให้ฝ่ายนั้นรู้ตัวและสามารถเตรียมการล่วงหน้าได้ เป็นต้น ในกรณีของห้องอาหารเล็ก ๆ ที่มีพนักเสิร์ฟเพียง 2-3 คน งานในความรับผิดชอบของพนักงานเสิร์ฟจะมีขอบข่ายกว้างมาก หน้าที่หลัก ๆ จะเป็นดังนี้·ตกแต่งหรือจัดแจงห้องอาหารให้ดูดี และสะดวกสบาย·จัดวางโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะ·รับจองโต๊ะจากลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามาสั่งจอง·ต้อนรับลูกค้า·รับออเดอร์หรือคำสั่งเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มจากลูกค้า·นำอาหารและเครื่องดื่มไปเสิร์ฟ·เก็บโต๊ะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว·กล่าวขอบคุณเมื่อแขกจะกลับ หรือส่งแขก·ทำความสะอาดห้องอาหาร สำหรับกรณีของห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่มาก ดังนั้น หน้าที่ความรับผิดชอบจึงแบ่งกระจายกันออกไปเป็นดังนี้1.ผู้จัดการห้องอาหาร (Resturant Manager)ดูแลรับผิดชอบห้องอาหารในทุกเรื่อง วาง/กำหนดมาตรฐานของการบริการวางแผนตารางเวลาและการทำงานของพนักงาน ฝึกสอนงานแก่พนักงาน รับจองโต๊ะ ต้อนรับลูกค้า พาลูกค้าไปที่โต๊ะและจัดการกรณีที่ลูกค้าต่อว่า2.หัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ (ชาย Head Waiter/หญิง Head Waitress หรือMaltre d’Hotel หรือที่นิยมเรียกกันว่า Maltre D.)เป็นตำแหน่งรองจากผู้จัดการห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดเล็กก็จะเป็นผู้ที่ดูแลห้องอาหารทั้งหมด ในกรณีที่เป็นห้องอาหาร ถ้าเป็นห้องอาหารขนาดใหญ่ จะมีหัวหน้าหลายคน โดยคนหนึ่งจะดูแล 3-4 Station (เขตบริการ หรือ เขตความรับผิดชอบในห้องอาหารที่พนักงานแต่ละคนจะต้องคอยดูแลให้บริการแก่ลูกค้าที่นั่งโต๊ะ) Station หนึ่งจะมีหลายโต๊ะ Head Waiter มีหน้าที่ดูแลควบคุมการทำงานของพนักงานเสิร์ฟในเขตความรับผิดชอบของตน ช่วยพาลูกค้าไปนั่งโต๊ะและรับคำสั่งจากลูกค้าที่ต้องการสั่งอาหาร ในเมืองไทย บางโรงแรมอาจแบ่งเป็นซอยตำแหน่งให้มีมากกว่านี้ โดยมีตำแหน่ง Chief Station หรือหัวหน้าเขตคอยดูแลบริการเฉพาะในเขตความรับผิดชอบของตน แต่ที่นิยมใช้กันมากคือตำแหน่ง Captain (หรือ กัปตัน ตามที่เรียกกันแบบไทย ๆ แต่ในภาษาอังกฤษจริง ๆ ต้องอ่านว่า “แค็พทิน” หรือ “แค็พเทิน” ) หรือหัวหน้าหนักงานเสิร์ฟระดับต้น ซึ่งโดยแท้จริงก็คือพนักงานเสิร์ฟอาวุโสในตำแหน่งที่ 3 ต่อไปนี้นั่นเอง- พนักงานเสิร์ฟอาวุโสประจำเขต ( Station Waiter/Station Waitress หรือChef de Rang)มีหน้าที่เสิร์ฟหรือให้บริการแก่ลูกค้าหลายโต๊ะใน Station หรือ เขตของตน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีลูกค้ารวมกันประมาณ 20 ที่นั่งหรือ 20 คน เมื่อลูกค้าสั่งอาหารแล้ว ก็จะคอยปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บนโต๊ะ เช่น มีด ช้อนส้อม ให้เหมาะกับอาหารที่ลูกค้าสั่งและจำนวนคนนำอาหารไปเสิร์ฟให้ลูกค้าเมื่ออาหารพร้อม และเคลียร์โต๊ะเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้ว
- ผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟ (Commis Waiter/Commis Waitress)
มีหน้าที่ช่วยบริการด้านอาหาร จัดโต๊ะ เคลียร์โต๊ะ โดยทั่วไปผู้ช่วยพนักงานเสิร์ฟจะเป็นคนยกอาหารที่ทำเสร็จแล้วจากครัวมาที่ห้องอาหาร และนำพวกถ้วยจานและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ลูกค้าใช้แล้วกลับไปในครัวเพื่อให้แผนกสจ๊วตล้างทำความสะอาด
หน้าที่นี้ในเมืองไทยนิยมเรียกกันว่า Bus Boy/Bus Girl มีหน้าที่ “เคลียโต๊ะและวิ่ง”อาหาร
- พนักงานเสิร์ฟเหล้า( Wine Waiter/Wine Waitress หรือ Sommellierซอมเมอลิเยร์)
ทำหน้าที่รับคำสั่งหรือออเดอร์เกี่ยวกับเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เกี่ยวกับเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ
3. พนักงานเก็บเงิน หรือ แคชเชียร์ (Cashier)
รับผิดชอบในการออกใบเสร็จและเก็บเงิน แต่คนที่นำใบเสร็จไปให้ลูกค้าได้แก่พนักงานเสิร์ฟ
4. พนักงานประจำบาร์ขายเหล้า (Barperson,Barman/Barmaid,Bartender)
คำว่า Bartender ในภาษาอังกฤษนั้นใช้ได้ทั้งพนักงานชายและหญิง ในเมืองไทยถ้าเป็นพนักงานหญิง มีการเรียกเป็น “บาร์เทนตี้” ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะคำว่า Bartendee นี้ไม่มีใช้ในภาษาอังกฤษ
พนักงานประจำบาร์เหล้าต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับพวกสุราต่างๆ ซึ่งต้องเรียนรู้ แต่วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็โดยการฝึกปฏิบัติและอาศัยประสบการณ์ เช่น ต้องรู้วิธีรินเบียร์โดยไม่ให้มีฟองมาก วิธีค่อย ๆ รินเหล้าไวน์โดยไม่ให้มีตะกอนไหลลงมาด้วย วิธีผสมเครื่องดื่มประเ
การแปล กรุณารอสักครู่..