AbstractResearch the title "consumed a single brand name bag of Jameel elite" is research.(Qualitative Research) a qualitative study that consumed a single Jameel (sign of Consumption) and identity (Identity) of the highest class that uses lucky brand bag ronnem. By means of the analysis (Textual Analysis) from various media: Media magazine. Social media the STA program and drama combined the use of in-depth interviews (In-depth Interview) group, for example, who owns the shop and sell premium Italian brand name genuine and imitation.ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นสูงเลือกใช้กระเป๋าแบรนด์เนม โดยไม่ได้คำนึงถึงเฉพาะด้านรูปธรรม กล่าวคือไม่ได้มองกระเป๋าแบรนด์เนมเป็นแค่กระเป๋าที่มีคุณประโยชน์ในการใช้สอยเพียงอย่างเดียว แต่ผู้บริโภคมองว่ากระเป๋าแบรนด์เนมเป็นสินค้าเชิงสัญญะ หรือสินค้าแห่งความหรูหราและความมีรสนิยม รวมไปถึงเป็นสินค้าที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ให้แก่ผู้ใช้กระเป๋าแบรนด์เนมได้ด้วย โดยอัตลักษณ์ดังกล่าวจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในการเลือกใช้กระเป๋าแบรนด์เนมทั้งในแง่ยี่ห้อ รุ่น ลวดลาย ตลอดจนลักษณะการถือ/สะพายกระเป๋าแบรนด์เนมของบุคคลนั้นๆ ซึ่งจากการศึกษาการใช้กระเป๋าแบรนด์เนมของผู้ดีเก่าและเศรษฐีใหม่พบว่า มีการใช้กระเป๋าแบรนด์เนมสร้างอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากคนทั้ง 2 กลุ่มมีระดับชั้น (ความเป็นชนชั้นสูงก็ยังมีการแบ่งแยกระดับชั้นออกเป็นผู้ดีเก่าและเศรษฐีใหม่) และมีต้นทุนฮาบิทัส (Habitus) ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีรสนิยม (Taste) การบริโภคกระเป๋าแบรนด์เนมที่ไม่เหมือนกัน สำหรับกลุ่มผู้ดีเก่า เป็นกลุ่มที่มีสถานภาพได้รับการยอมรับมาตั้งแต่กำเนิด จึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาการยอมรับหรือความเคารพจากบุคคลอื่นมากนัก ดังนั้นการบริโภคกระเป๋าแบรนด์เนมจึงเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง ในการแสดงถึงสถานภาพและธำรงเกียรติยศ (Status & Prestige) ของตนเองเท่านั้น ส่วนความนิยมในเลือกกระเป๋านอกจากจะชื่นชอบรูปทรงและยี่ห้อเป็นที่นิยมแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริโภคกระเป๋าแบรนด์เนมที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ จัดทำขึ้นในวาระพิเศษ หรือรุ่นที่ผลิตจำนวนจำกัด (Limited Edition) เพื่อต้องการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) และแสดงออกว่าตนเองมีรสนิยม (Taste) โดดเด่นจากกลุ่มคนชั้นสูงด้วยกันเอง และจากชนชั้นอื่นๆ ที่มีลำดับต้อยต่ำกว่า ทั้งนี้ อิริยาบถหรือท่าทางในการถือ/สะพายกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้ดีเก่า จะมีลักษณะการถือ/สะพายตามแบบมาตรฐานสากลทั่วไป (คนส่วนใหญ่มักถือกระเป๋าในลักษณะนี้เวลาออกงาน) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เป็นผลมาจากฮาบิทัส (Habitus) ซึ่งได้มาจากกระบวนการเรียนรู้จากครอบครัวและสังคม จึงทำให้มีจริตจะก้านการถือกระเป๋าเป็นที่ยอมรับในชนชั้นนั้น และชนชั้นอื่นๆในขณะที่กลุ่มเศรษฐีใหม่ เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมชนชั้นสูงตั้งแต่ต้น จึงสร้างเสริมผลักดันตนเองให้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี เพื่อกลายเป็นคนสังคมชั้นสูงในภายหลัง ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใช้กระเป๋าแบรนด์เนมเพื่อยกระดับตนเองและแสดงให้บุคคลอื่นรับรู้ว่าตนเป็นคนฐานะดี โดยอาศัยกระเป๋าแบรนด์เนมเป็นเสมือนใบเบิกทางในการเข้าร่วมกลุ่มสังคมชั้นสูง นอกจากนี้ยังนิยมเลือกใช้กระเป๋าแบรนด์เนมที่มีราคาแพงและเลือกยี่ห้อที่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักกันดี เพื่อต้องการให้บุคคลอื่นสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าตนเองคือเศรษฐีที่มีความร่ำรวย อีกทั้งยังทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มเดียวกันกับชนชั้นสูงคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐีใหม่โดยเฉพาะบางคนเติบโตมาจากการมีฐานะยากจนมาก่อน มักให้ความสำคัญกับการบริโภคกระเป๋าแบรนด์เนมที่ราคาสูง หรือเลือกรุ่นและยี่ห้อเป็นที่นิยม อันเนื่องมาจากหากได้รับการยอมรับให้ร่วมกลุ่มสังคมชั้นสูง ก็จะทำให้เศรษฐีใหม่คนนั้นมีความรู้สึกว่าสามารถหลุดพ้นจากการเป็นกลุ่มชนชั้นล่างได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้อิริยาบถหรือท่าทางในการถือ/สะพายกระเป๋าแบรนด์เนมของเศรษฐีใหม่จะมีลักษณะการถือ/สะพายตามแบบมาตรฐานสากลทั่วไปเช่นเดียวกับผู้ดีเก่า แต่ก็มีเศรษฐีใหม่บางคนต้องการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ให้แตกต่างจากผู้ดีเก่าและเศรษฐีใหม่ด้วยกันเอง จึงเลือกใช้วิธีการถือ/สะพายด้วยลักษณะ “จงใจ” นำเสนอกระเป๋าแบรนด์เนมมากเป็นพิเศษ (ถือกระเป๋าอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องยึดถือวิธีการถือ/สะพายตามแบบมาตรฐานสากล) เพื่อแสดงถึงอำนาจของตนเองที่มีต่อกระเป๋าแบรนด์เนม หรืออาจเพื่อต่อต้าน (Resistance) ขนบวิธีการการถือ/สะพายกระเป๋าแบรนด์เนมของชนชั้นสูง
การแปล กรุณารอสักครู่..
