บทที่ 1
บทคัดย่อ
มดเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่สามารถก่อความรำคาญให้แก่มนุษย์ สัตว์ พืชได้ มดบางชนิดมีพิษ เช่น มดตะนอย มดคันไฟ เรามักพบได้ตามบ้านเรือน ดอกไม้ ต้นไม้ ใบไม้ ตามเครื่องปรุงที่เราใช้ประกอบอาหารสำหรับปริโภคประจำวัน ในปัจจุบันได้มีการผลิตสารเคมีเพื่อที่จะใช้กำจัดมด ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม จากเหตุดังกล่าวสมาชิกในกลุ่มจึงอยากที่จะหาสิ่งที่เหลือใช้ภายในบ้านมาช่วยในการไล่มด นั้นก็คือเปลือกไข่ที่เหลือจากการประกอบอาหารภายในครัวเรือน ซึ่งได้นำเปลือกไข่เป็ด ในการทดลองได้นำเปลือกไข่มาเปรียบเทียบกับชอล์กขีดมด จากการทดลองเปลือกไข่เป็ดสามารถไล่มดได้ดีเหมือนกับชอล์กขีดมด
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันได้มีการผลิตยาจำกัดแมลงมาจำหน่ายอย่างมากมาย เหตุมาจากแมลงต่างๆเหล่านั้นก่อให้เกิดความรำคาญในดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และการเจริญเติบโตของพืชด้วย และการใช้สารเคมีในการไล่มด และแมลงต่างๆ อาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเราในระยะยาว จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น สมาชิกภายในกลุ่มจึงได้ทำการหาข้อมูลทั้งจากในหนังสือ และอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะหาสิ่งที่จะมาทดแทนการใช้สารเคมีได้ จนได้พบว่าเปลือกไข่นั้นสามารถที่จะไล่มดได้ แต่เปลือกไข่ที่เราได้พบเจอปล่อยๆนั้นมีสองประเภทคือ ไข่ไก่และเป็ด สมาชิกในกลุ่มเกิดความสงสัยว่าเปลือกไข่เป็ดที่มีสีขาวเหมือนชอล์กขีดมดใช้ไล่มดได้หรือไม่จึงได้ตกลงว่าจะทำการทดลองจากการนำเปลือกที่เหลือทิ้งจากการประกอบอาหาร จึงเป็นที่มาของโครงงานการเปรียบเทียบการไล่มดของเปลือกไข่เป็ดและชอล์กขีดมด
ขอบเขตการศึกษา
1. ศึกษาปฏิกิริยาของมดที่มีต่อเปลือกไข่เป็ด
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00-10.15
สมมติฐาน
1. เปลือกไข่เป็ดสามารถไล่มดได้ดีกว่าชอล์กขีดมด
2. ชอล์กขีดมดสามารถไล่มดได้ดีกว่าเปลือกไข่เป็ด
ตัวแปร
1. ปริมาณเปลือกไข่ที่ใช้
2. ปริมาณชอล์กขีดมด
3. ระยะเวลาที่ทำการทดลอง
4. จำนวนมด
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. การนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อทดลองไล่มดจากวัสดุธรรมชาติ คือเปลือกไข่เป็ด ว่าสามารถไล่มดได้หรือไม่
1. เพื่อกำจัดมดโดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดและไล่มด
3. เพื่อเป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
ป
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ชอล์กขีดกำจัดแมลงคลาน เป็นยาฆ่าแมลง (insecticide) ที่นิยมใช้กันมากในครัวเรือน ออกฤทธิ์กำจัดแมลงคลาน เช่น มด แมลงสาบ และปลวก โดยใช้ขีดตาม มุมห้อง รอบขาตู้อาหาร และรอบถังขยะ เป็นต้น สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลง คือ deltamethrin ยาฆ่าแมลงชนิดนี้นอกจากจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในชอล์กขีดกำจัดแมลงคลานแล้ว ยังพบว่าในบางประเทศได้นำมาพัฒนาใช้เป็นยาสำหรับฆ่าแมลงชนิดอื่น เช่น Anopheles albimanus และ Leishmania infantum เป็นต้น deltamethrin จัดเป็นยาฆ่าแมลงในกลุ่ม pyrethroids ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นด้วยปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อประสาท (neurotoxic) และเป็นพิษต่อภูมิคุ้มกัน (immunotoxic) ในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา ข้อควรระวัง และวิธีแก้พิษเบื้องต้น ของ deltamethrin ในชอล์กขีดกำจัดแมลงคลาน ข้อมูลทางเคมี ความเป็นพิษ การเก็บรักษา การปฐมพยาบาล และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของ deltamethrin รวมทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับการนำ deltamethrin ไปใช้ประโยชน์ในแง่อื่น ๆ
ชอล์กขีดกำจัดแมลงคลาน
สารออกฤทธิ์ Deltamethrin 0.06 %w/w
วิธีใช้
1. ทุกครั้งที่ใช้ให้จับแท่งชอล์กด้วยถุงพลาสติกหรือกระดาษที่หุ้มห่อ
2. ลากเส้นขนานหลาย ๆ เส้น ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขวางทางที่แมลงคลานชอบเดินผ่าน เช่น ขอบหรือมุมห้อง หรือบริเวณที่หลบซ่อน
3. ลากเส้นวงกลม 2-3 วง รอบขาตู้อาหาร ตู้เอกสาร และถุงขยะ เป็นต้น
4. ใช้ชอล์กขีดในเวลากลางคืน แล้วเช็ดออกในตอนเช้า
วิธีเก็บรักษา
เก็บในที่แห้งมิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
คำเตือน
1. ภายหลังจากหยิบจับชอล์ก ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง
2. ระวังอย่าให้เด็กและสัตว์เลี้ยงสัมผัสชอล์กที่ขีดไว้
วิธีแก้พิษเบื้องต้น
1. หากกลืนกินชอล์ก รีบทำให้อาเจียน โดยให้ดื่มน้ำสะอาด 2 แก้วแล้วทำการล้วงคอ
2. หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนำส่งแพทย์ พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบแทรก
ประโยชน์
1. ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในชอล์กขีดกำจัดแมลงคลาน
2. ใช้ผสมในสบู่อาบน้ำสุนัขและปลอกคอสุนัข เพื่อกำจัดโรค zoonotic visceral leishmaniasis (ZVL) ที่เกิ