Career Path หมายถึง เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ อธิบายง่าย ๆ คือ เราเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งใด จากตำแหน่งนี้เราจะเติบโตไปเป็นอะไรได้บ้าง สูงสุดแล้วเราอยากเป็นอะไร อยากไปถึงไหน ซึ่งเมื่อมีเป้าหมายแล้ว เราควรมีการวางแผนเส้นทางเดินว่าเราจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไรด้วย
เมื่อเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ เราอาจยังไม่รู้ว่าเราอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร ก็ออกไปลองผิดลองถูกดูหลาย ๆ อย่าง
จนเมื่อเรารู้จักตัวเองแล้ว รู้ว่าเราชอบอะไร ถนัดอะไร และอยากเป็นอะไรแล้ว เมื่อนั้นก็ควรลงมือวางแผนเส้นทางอาชีพของเราได้ ไม่ควรปล่อยให้ล่าช้า ทำงานไปวัน ๆ ไม่เคยคิดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะเป็นอะไร มองไม่เห็นตัวเองในอนาคต โอกาสก้าวหน้าจึงมีน้อย เมื่อเทียบกับคนที่มีเป้าหมาย คนประเภทนี้จะมีแรงจูงใจในการทำงาน มีความมุ่งมั่นที่จะไปถึงเป้าหมาย ทำให้เขามีโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จมากกว่า
โดยทั่วไปแล้ว เรามักต้องการมีงานที่มั่นคง มีโอกาสก้าวหน้า มีเกียรติเป็นที่ยอมรับในสังคม เงินเดือนดีเหมาะสมกับงาน สวัสดิการดี บรรยากาศในการทำงานดี สถานที่ทำงานดี ผู้บังคับบัญชาดี แต่เรามักไม่ค่อยวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพของเรา หากคุณเป็นคนทำงานที่อยากประสบความสำเร็จมาเริ่มวางแผน Career Path ของตนเองกันดีกว่า
การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. ระดับตำแหน่งงาน (Career Level) ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นจะบอกถึงความก้าวหน้าจากการทำงานอาชีพนั้น ๆ เช่น จากระดับเจ้าหน้าที่
เป็นหัวหน้างาน เป็นระดับอาวุโส เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ เป็นรองผู้จัดการ
เป็นผู้จัดการ เป็นผู้บริหารระดับสูง ในสายงานของคุณต้องผ่านตำแหน่งอะไรบ้าง จึงจะไปถึงตำแหน่งที่คุณใฝ่ฝัน
2. เป้าหมายของงาน (Target Job) ต้องมองว่าตำแหน่งที่คุณต้องการจะขึ้นไปนั้นต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร มีผลงานในระดับใด ต้องใช้ทักษะอะไร ต้องมีประสบการณ์อะไรมาบ้าง หรืออาจวัดจากคุณภาพของงาน ปริมาณงานที่ทำ และอายุงานเป็นเกณฑ์กำหนด คุณควรศึกษาและหาทางพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้นให้ถูกทาง
3. ขอบเขตของหน้าที่ (Functional Area) การจะเลื่อนตำแหน่งได้นั้น คุณต้องสามารถรับผิดชอบงานที่มากขึ้นได้ด้วย ทั้งในเชิงปริมาณและขอบเขตงานที่กว้างขึ้น ทั้งนี้ควรศึกษาถึงขอบเขตของงานและหน้าที่ที่คุณจะต้องทำในตำแหน่งนั้น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าด้วย
เมื่อเรารู้แล้วว่า เราจะเติบโตไปได้อย่างไร เรายังต้องคำนึงถึงความสมดุลอีกหลาย ๆ ด้าน ทั้งระยะเวลา ตำแหน่งงาน และผลตอบแทนประกอบกัน ถ้าใช้เวลาในตำแหน่งนั้นมากเกินไป และบริษัทที่คุณทำยังไม่เปิดรับในตำแหน่งที่คุณต้องการ หรือผลตอบแทนต่ำเกินไป ไม่สมกับการรอคอยและความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่คนทำงานมักมองหาโอกาสเติบโตในที่ใหม่
องค์กรใหม่ที่ความต้องการขององค์กรกับความสามารถของพนักงานสมดุลกัน
พอดี มาถึงตรงนี้ คงต้องเริ่มพิจารณาแล้วว่างานที่คุณทำอยู่มีโอกาสก้าวหน้า
ในองค์กรนั้น ๆ มากเพียงใด