ลักษณะต้นราชพฤกษ์ราชพฤกษ์ หรือ คูน หรือ ต้นคูน ภาษาอังกฤษ Golden shower, Indian laburnum, Pudding-pine tree, Purging Cassia ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula Linn. จัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE หรือวงศ์ LEGUMINOSAE และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE เช่นเดียวกับชงโค มะขามแขก และเสี้ยวดอกขาว เป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียใต้ ไล่ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถานไปจนถึงอินเดีย พม่า และประเทศศรีลังกานอกจากนี้ ต้นราชพฤกษ์ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปูโย ปีอยู เปอโซ แมะหล่าอยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลักเกลือ ลักเคย (กะเหรี่ยง), ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง), ลมแล้ง (ภาคเหนือ), ราชพฤกษ์ (ภาคใต้) เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะเรียกต้นราชพฤกษ์ ว่า “ต้นคูน” มากกว่า เพราะจำง่ายกว่านั่นเอง (แต่มักจะเขียนผิดหรือสะกดผิดเป็น “ต้นคูณ” หรือ “คูณ“) คำว่า “ราชพฤกษ์” มีความหมายว่า “ต้นไม้ของพระราชา” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานมหกรรมพืชสวนโลกซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคล ที่พระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี
ดอกไม้สีเหลืองอร่ามที่มักพบเห็นได้ทั่วไปตามริมถนนสายต่าง ๆ คือสีสันของ ดอกราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน ต้นไม้มงคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วจะเสริมให้คนในบ้านมีเกียรติยศชื่อเสียงมากขึ้นด้วย ยิ่งใกล้เข้าสู่เวลาแห่งการเปิดประตูต้อนรับเพื่อนบ้านอาเซียนกันแล้ว ในวันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติไทยอย่าง ดอกราชพฤกษ์ มาให้ทำความรู้จักกันจ้า
เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอร่าม แต่ละช่อยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร โดยกลีบดอกจะเป็นสีเหลือง 5 กลีบ มีผลยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่เป็นพิษ
การปลูกดอกราชพฤกษ์
นิยมปลูกด้วยเมล็ด โดยจะมีการเจริญเติบโตช้าในช่วง 1-3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นจะมีการเติบโตเร็วขึ้น และออกดอกตอนอายุประมาณ 4-5 ปี
ลักษณะดอกราชพฤกษ์ ดอก (Flower) : สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะยาวตามซอกใบห้อยย้อยลง ช่อดอกโปร่ง ยาว 20- 45 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร