รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
วงศ์ Menispermaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.
ชื่อไทย บอระเพ็ด
ชื่อท้องถิ่น - จุ้งจะลิง(คนเมือง) - เครือเขาฮอ จุ่งจิง (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย) ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี อุบลราชธานี) [8]
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เลื่อย เนื้อแข็ง ยาวถึง 15 ม. ขนเกลี้ยง ลำต้นเป็นตุ่ม มียาวขาว รสขม มีรากอากาศคล้ายเส้นด้ายยาว
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ มักเป็นรูปหัวใจ รูปไข่กว้าง หรือรูปกลม กว้าง 6-12(-24) ซม. ยาว 7-14(-25) ซม. โคนเรียวแหลมยาว ปลายจักเป็นรูปหัวใจลึก หรือตื้น เนื้อคล้ายแผ่นกระดาษบาง มักมีต่อม ใบด้านล่างบางครั้งพบต่อมแบนตามโคนง่ามของเส้นใบ เส้นใบออกจากโคนใบรูปผ่ามือมี 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ ก้านใบยาว 5-15(-30) ซม. บวมพอง และเป็นข้องอ
ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งแก่ๆ ที่ไม่มีใบ มักออกดอกเมื่อใบหลุดร่วงหมด มี 2-3 ช่อเล็กเรียว ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยงสีแขียวอ่อน วงนอกมี 3 กลีบ รูปไข่ หนาที่โคน ยาว 1-1.5 มม. วงในมี 3 กลีบ รูปไข่กลับ มีก้านกลีบ หรือโคนแหลม ยาว 3-4 มม. กลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบวงนอกเท่านั้นที่เจริญขึ้น รูปใบหอกกลับแคบ แบน ไม่มีตุ่ม ยาว 2 มม. ส่วนกลีบวงในลดรูป เกสรเพศผู้มี 6 อัน ยาว 2 มม. ช่อดอกเพศเมีย ยาว 2-6 ซม. มีดอกส่วนมากเกิดเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ปลอมมี 6 อัน เป็นรูปลิ่มแคบ ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศเมียมี 3 อัน ทรงรี ยาว 2 มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นพูสั้นมาก
ผล ออกเป็นช่อ มีก้านช่อยาว 1.5-2 ซม. มีก้านผลเป็นรูปกึ่งปิรามิด ยาว 2-3 มม. ใต้ลงมาเป็นกลีบเลี้ยงที่ติดแน่น รูปไข่ยาว 2 มม. โค้งกลับ ผลสด สีส้ม ทรงรี ยาว 2 ซม. ผนังผลชั้นในสีขาว ทรงรี กว้าง 7-9 มม. ยาว 11-13 มม. ผิวย่นเล็กน้อย หรือเกือบเรียบ มีสันด้านที่ด้านบนชัด มีช่องเปิดรูปรีเล็กที่ด้านบน [8]
ใบ ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ มักเป็นรูปหัวใจ รูปไข่กว้าง หรือรูปกลม กว้าง 6-12(-24) ซม. ยาว 7-14(-25) ซม. โคนเรียวแหลมยาว ปลายจักเป็นรูปหัวใจลึก หรือตื้น เนื้อคล้ายแผ่นกระดาษบาง มักมีต่อม ใบด้านล่างบางครั้งพบต่อมแบนตามโคนง่ามของเส้นใบ เส้นใบออกจากโคนใบรูปผ่ามือมี 3-5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ ก้านใบยาว 5-15(-30) ซม. บวมพอง และเป็นข้องอ
ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งแก่ๆ ที่ไม่มีใบ มักออกดอกเมื่อใบหลุดร่วงหมด มี 2-3 ช่อเล็กเรียว ยาว 2-4 มม. กลีบเลี้ยงสีแขียวอ่อน วงนอกมี 3 กลีบ รูปไข่ หนาที่โคน ยาว 1-1.5 มม. วงในมี 3 กลีบ รูปไข่กลับ มีก้านกลีบ หรือโคนแหลม ยาว 3-4 มม. กลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบวงนอกเท่านั้นที่เจริญขึ้น รูปใบหอกกลับแคบ แบน ไม่มีตุ่ม ยาว 2 มม. ส่วนกลีบวงในลดรูป เกสรเพศผู้มี 6 อัน ยาว 2 มม. ช่อดอกเพศเมีย ยาว 2-6 ซม. มีดอกส่วนมากเกิดเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ปลอมมี 6 อัน เป็นรูปลิ่มแคบ ยาวประมาณ 1 มม. เกสรเพศเมียมี 3 อัน ทรงรี ยาว 2 มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นพูสั้นมาก
ผล ผล ออกเป็นช่อ มีก้านช่อยาว 1.5-2 ซม. มีก้านผลเป็นรูปกึ่งปิรามิด ยาว 2-3 มม. ใต้ลงมาเป็นกลีบเลี้ยงที่ติดแน่น รูปไข่ยาว 2 มม. โค้งกลับ ผลสด สีส้ม ทรงรี ยาว 2 ซม. ผนังผลชั้นในสีขาว ทรงรี กว้าง 7-9 มม. ยาว 11-13 มม. ผิวย่นเล็กน้อย หรือเกือบเรียบ มีสันด้านที่ด้านบนชัด มีช่องเปิดรูปรีเล็กที่ด้านบน [8]
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- เครือ ฝานเป็นแว่นรับประทานกับน้ำผึ้งแก้ไข้ หรือดองในน้ำผึ้งรับประทานบำรุงกำลัง(คนเมือง)
เครือ ใช้เข้ายาร่วมกับเพชรสังฆาต เป็นยารักษาอาการปวดกระดูก หรือทุบแล้วแช่น้ำผสมน้ำผึ้งดื่มแก้หวัด(คนเมือง)
- เครือ นำไปต้มน้ำรวมกับสะเดาใช้พ่นไล่แมลงรบกวนต้นไม้ที่ปลูก(คนเมือง)
- เครือ ให้ไก่กินแก้อาการเหงาซึม(คนเมือง)
เครือ ฝานเป็นแผ่น ตากแห้ง แล้วนำมาแช่ ในปัสสาวะคน ให้ไก่ชนกิน ช่วยเพิ่มพละกำลัง(คนเมือง)
- ทุกส่วนของพืชใช้แก้ไข้ เป็นยาบำรุง แก้บาดทะยัก โรคดีซ่าน ยาเจริญอาหาร แก้มาลาเรีย
ลำต้น ต้มดื่มเพื่ออยากอาหาร ช่วยย่อย บำรุงร่างกาย แก้มาลาเรีย แก้ไข้ เป็นยาขับเหงื่อ ดับกระหาย แก้ร้อนในดีมาก แก้อหิวาตกโรค แก้ท้องเสีย ไข้จับสั่น ใช้ภายนอกใช้ล้างตา ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส
ใบ เป็นยาพอกบาดแผล แก้คัน แก้ปวด พอกผี แก้ฟกช้ำ