วัดพระธาตุเรณู
ประวัติพระธาตุเรณู พระธาตุเรณู ประดิษฐานอยู่ ณ วัดธาตุเรณู ตําบลเรณู อําเภอเรญูนคร จังหวัดนครพนม สร้างพ.ศ ๒๔๖๐ ฝ่ายสงฆ์มีท่านอาญาครูอินทร์ เจ้าอาวาส เเละท่านอาญาครูสงฆ์รองเจ้าอาวาสเป็นประธานฝ่ายฆราวาสมีขุนเรณูนิติกร กำนันตำบลเรณูขุนโพนทองธรรมราษฏร กำนันตำบลโพนทองเป็นหัวหน้า ได้ชักชวนชาวบ้านทั้ง 2 ตำบลแสนพันด้วยก่อสร้างพระธาตุขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน โดยจำรองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2483) ทุกอย่างแต่ขนาดเล็กกว่าเป็นทรงเจดีย์ ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 8.33 เมตร เท่ากัน ทั้ง 4 ด้าน สูง 35 เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูน พระธาตุเรณูเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ พระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงินเพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินทองหน่องาของมีค่าเจ้าเมืองและประชาชนที่ศรั
ทธาบริจาค นายช่างผู้ทำการก่อสร้างชื่อ นายเม้า เป็นคนอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ทำการก่อสร้าง 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อด้วยอิฐหนาสองช่วงแผ่นอิฐเสร็จในปี พ.ศ.2561 ยังไม่ทันจะฉลองสมโภชพอถึงเดือน 6 ฝนตกหนักฟ้าผ่าลงที่พระธาตุหักพังทะลายจนหมดสิ้นเป็นที่เศร้าเสียใจกันทั่ว ครั้งที่ 2 ท่านพระครูทั้ง 2 ท่านและท่านขุนทั้ง 2 ที่ออกนามมาแล้วพร้อมด้วยราษฏร ทั้ง 2 ตำบลรวมทั้งชาวตำบลแสนพัน ได้ประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระธาตุขึ้นมาอีกครั้งให้ได้คราวนี้ก่ออิ
ฐหนาให้ได้สี่ช่วงแผ่นอิฐทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อยทั้งรูปปั้นลวด
ลายต่างๆด้วยจึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ. 2463 เป็นปีแรก
อุโบสถจตุรมุขวัดธาตุเรณู เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ภายในกว้าง 7.20 เมตร ยาว 23 เมตร รอบนอกกว้าง 28 เมตร ยาว 41 เมตร สร้างด้วอิฐถือปูนเสริมเหล็กทั้งหลังมุงด้วยกระเบื้องแบบสุโขทัยช่อฟ้าใบระกาหน้าบรร
ณ์(จั่ว) คันทวยแท่นพระประธาน๙มประตูหน้าต่างติดลวดลายด้วยกระเบื้องเครือบดินเผาสูงจากพื้นดินถึงหลังคา 13.70 เมตร สูงจากพื้นภายในถึงเพดาน 6 เมตร ตัวอุโบสถประกอบด้วยเสา 44 ต้น ช่อฟ้า 12 ตัว ใบระกา 24 ตัว คันทวย 28 ตัว ลูกนิมิต 9 ลูก ใบเสมา 8 ใบ ประตูใหญ๋ 4 ช่อง หน้าต่าง 8 ช่อง หน้าบรรณ์(จั่ว) 4 หน้า หน้าต่าง 8 ซุ้ม แท่นพระประธาตุ 1 แท่น อาสนะสงฆ์ไม้สัก 10 ที่ ธรรมาสน์ บุสบกทองกลางโบสถ์ 1หลังระเบียงบันใด 8 ราว โต๊หมู่บูชาลายทองหมู่ 9 รวม 3 ชุด โคมไฟระย้า 3 ชุด หลอดไฟเพดาน 50 ดวง ดาวบนเพดาน 53 ดวง พัดลมติดตั้งข้างฝาผนัง 12 เครื่อง บานประตู 8 บาน หน้าต่าง 16 บาน เหล็กดัดสเตนเลสหน้าต่าง 8 ช่อง หน้าต่างกระจกผลัก 16 บาน แผ่นหิน แกรนิตปูพื้นภายในโบสถ์กำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้านและอื่นๆสิ้นค่าก่อสร้างไปแล้ว 10 ล้านกว่าบาท ด้วยทรัพย์ของผู้มีศรัทธาบริจาคถวายขณะนี้การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจะต้องก่อสร้าง
ต่อไปอีกจะให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2552 นี้กำหนด พิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ปิดทองในวันที่ 6-10 มีนาคม 2552 ตรงกับวันขึ้น 11-15 ค่ำเดือน 4
ประวัติหลวงพ่อพระองค์แสน พระคู่บ้านคู่เมืองเรณูนคร พระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปเนื้อ ทองเหลืองสร้างมานานไม่มีหลักฐานแน่นอน น้ำหนัก 120 กิโลกรัม (เท่ากับ หนักหนึ่งแสน)สูง 50 ซ.ม. กว้าง 50 ซ.ม. ตันทั้งองค์ ลักษณะงดงามน่าเครารพเลื่อใสเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวเรณูนคร มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร คือ การยังฝนให้ตก ในวันสงกรานต์ หรือ ปีไหนแห้งแล้ง ฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวบ้านจะอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปตามถนนให้ชาวบ้านชาวเมือง ได้สรงน้ำและขอฝนตามประเพณี จะมีปรากฏการณ์คลื้มฟ้า ฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ในขณะแห่สรงน้ำจะมีให้เห็นเกือบทุกครั้งและจะมีในวันถัดๆไป ชาวบ้านชาวเมืองได้รับน้ำฝนทำไร่ทำนา ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและอุดมสมบูรณ์อนึ่งหลวงพ่อพระองค์แสน ยังมีอภินิหารในทางโชคลาภแคล้วคลาด ปราศจาก อุปสรรค อุปัทวเหตุ อันตรายด้วย ประชาชนจึงเคารพศรัทธา เลื่อมใส ในหลวงพ่อพระองค์แสนตลอดมา