ระบบคอมมอนลอร์เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งในสมัยนั้นการใช้กฎหมายในประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันเพียงเล็กน้อย โดยกฎหมายที่ใช้บังคับก็คือ กฎหมายจารีตประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ ของกลุ่มชนเป็นจำนวนมากที่มีภูมิลิเนาอยู่เขตพื้นที่ประเทศอังกฤษกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปและมีจารีตประเพณี กฎเกณฑ์กำหนดวิถีชีวิตของสมาชิกในกลุ่มของตน ทำให้จารีตประเพณีมีลักษณะที่หลากหลายและขาดเอกภาพ จนกระทั่งมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทราชย์ภายใต้การปกครองของ “กษัตริย์” ที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด มีการจัดระบบการปกครองเสียใหม่ ในรูปการครองที่ดิน อันเป็นการเสริมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือศักดินาอื่นๆ เเละได้ตั้งตัวแทนของกษัตริย์ในลักษณะของศาลที่เดินทางไปตัดสินคดีในท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ศาลหลวง” ( Royal Corut ) วิธีการพิจารณาวินิจฉัยของศาลหลวงนั้นมี 2 วิธีคือ
1) เป็นการนำเอาจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังนี้เมื่อมีคำตัดสินจากศาลหลวงดังกล่าวท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องยอมรับและปฏิบัติตาม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างท้องถิ่นและมีปัญหาว่าจะใช้จารีตประเพณีของท้องถิ่นใดตัดสิน ได้รับการคลี่คลายโดยระบบศาลหลวงเป็นผู้ตัดสินคดีข้อพิพาทนั้น ๆ เช่นกัน
2) ในกรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีของท้องถิ่นศาลหลวงจำต้องสร้างหลักกฎหมายขึ้นมาใหม่โดยเป็นการใช้เหตุผลไปพิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดเป็นข้อพิพาทแล้วศาลหลวงวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินชี้ขาดจากการพิจารณาเหตุผลที่แฝงอยู่ในความสัมพันธ์ทางข้องเท็จจริงนั้นหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ต่างจากการใช้กฎหมายท้องถิ่นแบบเดิมมิใช่เป็นกฎหมายจารีตประเพณีแต่เป็นการวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้นเอง
ต่อมาเมื่อระยะเวลานานขึ้นจึงได้พัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการพัฒนาเป็นระบบเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่ศาลหลวงเป็นผู้กำหนดโดยมิได้แบ่งแยกเช่นเดิมอีกต่อไป ซึ่งการจัดระบบจารีตประเพณีเป็นหนึ่งเดียวนี้จึงทำให้เป็นระบบส่วนกลาง หรือระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) โดยที่หลักคอมมอนลอว์นั้นถือว่าเป็นหลักกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นมาจากจารีตประเพณีหรือจากหลักเหตุผลที่ได้จากการพิจารณาข้อเท็จจริงในข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการตัดสินตามอำเภอใจดังนี้ทำให้มีการยึดหลักเกณฑ์ในคำพิพากษาที่มีมาก่อนมาใช้ในการตัดสินที่มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นแบบเดียวกันในภายหลังตามหลักการที่กล่าวว่าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน และพัฒนาต่อมาจนเกิดเป็นทฤษฎีการตัดสินโดยยึดหลักกฎหมายตามคำพิพากษา (The doctrine of precedent) ในราวปลายศตวรรษที่ 18
และต่อมาเมื่อระบบคอมมอนลอว์ได้พัฒนาถึงขีดสุดในช่วงศตวรรษที่ 15 จนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ ไม่ว่าจะด้วยการมีกระบวนพิจารณาที่เคร่งครัดจำกัดมากเกินไปและต้องผูกพันอยู่กับคำพิพากษาบรรทัดฐานของศาลคอมมอนลอว์ กฎหมายคอมมอนลอว์ของศาลหลวงเริ่มไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม จนไม่สามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม หรือแนวคิดของผู้พิพากษาที่เป็นอนุรักษ์นิยมจนมากเกินไปทำให้มีผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากศาลคอมมอนลอว์ ต้องหันไปพึ่งพิงและร้องของความเป็นธรรมจาก Load Chancellor ราชเลขานุการของพระมหากษัตริย์เพื่อเยียวยาความเดือดร้อนดังกล่าว Load Chancellor มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Court of Chancery ได้เยียวยาความเดือดร้อนแก่ผู้ร้องทุกข์ โดยยึดหลักความเป็นธรรมในแต่ละกรณี (The Equity of the case) กล่าวคือ วินิจฉัยคดีโดยยึดหลักประโยชน์สุขและความยุติธรรมในสังคมเป็นใหญ่ มิได้ยึดถือตามหลักกฎหมายตามแนว คำพิพากษาแบบศาลคอมมอนลอว์ จนพัฒนาเป็นหลักเอคคิวตี้ขึ้นในที่สุด หลักเอคคิวตี้นี้จึงเป็นกฎหมายของประเทศอังกฤษอีกหลักหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับระบบคอมมอนลอว์ ในกรณีระบบคอมมอนลอว์มิได้ให้ความเป็นธรรมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ครั้นถึงศตวรรษที่ 18 เมื่อชนชั้นอังกฤษเติบใหญ่ขึ้นจนเข้ายึดกุมรัฐสภาได้ และมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้มีการออกกฎหมายมาแก้ไขหลักฎหมายคอมมอนลอว์ที่ไม่สอดคล้องกับการขยายของทุนนิยมในสมัยนั้น ในช่วงแรกศาลคอมมอนลอว์ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่สภาบัติญัติขึ้น เพราะผู้พิพากษามีความเชื่อว่า คอมมอนลอว์เป็นระบบเหตุผลที่ได้รับการปรุงแต่งโดยนักปราชญ์มานานจนเป็นระบบที่สมบูรณ์แล้ว แต่นานเข้าความต้องการของมหาชนได้บีบบังคับให้ศาลต้องยอมรับกฎหมายลายลักษณ์อักษร กระนั้นศาลก็ยังคงอิดเอื้อนและพยายามที่จะสงวนสิทธิที่จะไม่ใช้กฎหมายของรัฐสภา เมื่อกฎหมายขัดต่อเหตุผลหรือความรู้สึกของมหาชน โดยศาลอ้างเสรีภาพที่จะไม่ใช้กฎหมายนั้นบังคับ ในที่สุดรัฐสภาอังกฤษจึงได้บังคับให้ศาลนำกฎหมายที่รัฐสภาออกไปใช้บังคับ โดยศาลไม่มีดุลยพินิจงดใช้กฎหมาย ผลจากกฎหมายนี้ทำให้ศาลคอมมอนลอว์เลี่ยงไปสร้างหลักการตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยให้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีผลน้อยที่สุด โดยถือว่าบทกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นข้อยกเว้นของหลักคอมมอนลอว์ จึงพยายามตีกฎหมายให้แคบและเคร่งครัดเข้าไว้ยึดตัวอักษรเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือหลักตีความตามตัวอักษร (Literal Rule) ทำให้กฏหมายลายลักษณ์อักษรกินความไม่กว้าง เมื่อกฎหมายกินความแคบศาลก็มีโอกาสนำหลักคอมมอนลอว์อันเป็นหลักทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนั้น
การวิวัฒนาการของฝ่ายนิติบัญญัติที่ดำเนินควบคู่ไปกับการขยายอิทธิพลของรัฐประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม และแนวความคิดของ Jeremy Bentham ทำให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายวิธีพิจารณาความในตอนกลางศตวรรษที่ 19 เป็นการทำลายเครื่องรั้งพัฒนาการของกฎหมายอังกฤษครั้งสำคัญ จากนั้นมานักกฎหมายและศาลอังกฤษจึงค่อยๆ หันมายอมรับกฎหมายสารบัญญัติมากขึ้น และเป็นผลให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้รับการจัดระบบให้ดีขึ้นมีการปรับปรุงองค์กรตุลาการ โดยผลของ Judicature Acts 1873-1875 ศาลอังกฤษทั้งหมดสามารถใช้กฎหมาย Equity ควบคู่ไปกับหลักคอมมอนลอว์ได้ แต่กฎหมายอังกฤษก็ยังคงรักษาแบบฉบับเดิมไว้ โดยถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมายซึ่งต่างจากระบบชีวิลลิว์ในประเทศภาคพื้นยุโรปในนัยนี้ รัฐสภาอังกฤษมีฐานะเพียงเป