วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (/พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" และภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระนโรดม โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย
พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า "วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน" และมีพระราชดำริว่า "ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ
วัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า วัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยธนบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โดยสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๔๔ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดพระเชตุพนฯ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่างๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐานไว้ตามศาลารายต่างๆ ในรัชสมัย
เขตติดต่อ
พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางว่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง
ทิศเหนือ จดถนนท้ายวัง
ทิศตะวันออก จดถนนสนามไชย
ทิศใต้ จดถนนเศรษฐการ
ทิศตะวันตก จดถนนมหาราช
มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ มีวัดอยู่ในเขตใกล้ชิดพระราชฐาน ๒ วัด คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุ) และวัดโพธาราม จึงทรงแบ่งปันการบูรณปฏิสังขรณ์วัดทั้งสองนี้กับสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(วังหน้า) พระองค์ละวัด คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงรับปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม ส่วนสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงรับปฏิสังขรณ์วัดสลัก ด้วยเหตุนี้จึงถือกันว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นวัดของฝ่ายวังหลวง วัดมหาธาตุเป็นวัดของฝ่ายวังหน้าแต่นั้นมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างวัดโพธารามใหม่ในที่เดิม เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๓๓๒ใช้เวลาก่อสร้างนานถึงกว่า ๗ ปี และทรงพระราชทานนามวัดโพธารามเสียใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนสร้อยนามวัดเสียใหม่ว่า"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"
พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของรัชกาลที่ ๑ เกี่ยวกับการสร้างและสถาปนาพระอารามแห่งนี้คือ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ซึ่งมีหลายปางจำนวนมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ จากวัดร้างในหัวเมืองทางภาคเหนือ เช่น สุโขทัย พิษณุโลก ทางภาคกลาง เช่น อู่ทอง สุพรรณบุรีลพบุรี เป็นต้น พระพุทธรูปเหล่านี้ที่สมบูรณ์ก็มี ที่ชำรุดบางส่วนก็มี แล้วให้ช่างต่อเติมเสริมแต่งซ่อมให้สมบูรณ์ ประดิษฐานไว้ณ ระเบียงพระอุโบสถทั้งชั้นนอกและชั้นใน ในวิหารทิศทั้ง ๔ แห่งวิหารคดและระเบียงพระมหาเจดีย์ เป็นต้น
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่า วัดพระเชตุพนฯ อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม
มาก จึงโปรดฯให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พร้อมทั้งสร้างปูชนียวัตถุและปูชนียสถานเพิ่มเติม และขยายอาคารบางหลังให้ใหญ่ขึ้นเพราะทรงมีพระประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระอารามนี้ให้รุ่งเรืองสุดยอด เสมือนหนึ่งกรุงศรีอยุธยาที่รุ่งเรื่องด้วยวัดวาอารามที่สวยงามสง่าจำนวนมากประดับพระนครมาแล้ว นายช่างทุกปร