พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานอยู่ตรงกลางระหว่าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และหมู่พระที่นั่ง จักรพรรดิพิมาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น สถาปนิก / ผู้ออกแบบ คือ มิสเตอร์ยอน คลูนิ สถาปนิกจากสิงค์โปร์ / ควบคุมการก่อสร้าง เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
สถาปัตยกรรม
ลักษณะ องค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรม ผสมระหว่างศิลปกรรมไทยและแบบยุโรปสมัยพระบรม ราชินีนาถวิคตอเรียตัวอาคารเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ส่วนหลังคาเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย มีแผนผังด้านตัดเป็นรูปตัว อักษร T คือมีพระที่นั่งส่วนหน้าเป็นส่วนหัว ท้องพระโรงกลางและท้องพระโรงหลังเป็นลำตัว องค์พระที่นั่งส่วนหน้าเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วยพระที่นั่งยอดปราสาท 3 องค์เรียงกัน คือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลาง และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตก มีมุขกระสันเชื่อมพระที่นั่งทั้ง 3 องค์นี้เข้าด้วยกัน เรียกว่ามุขกระสันด้านตะวันออกและมุขกระสันด้านตะวันตก
พระที่นั่งองค์กลาง ชั้นบนเป็นหอพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 8 และพระบรมอัฐิสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีมุขเด็จอยู่ที่พระทวารด้านหน้า ชั้นกลางเป็นห้องท้องพระโรงหน้า เป็นทางที่จะผ่านไปยังส่วนอื่นๆของพระที่นั่ง ทางด้านเหนือมีทางออกสู่มุขหน้า ที่มุขหน้านี้มีชานสีหบัญชรสำหรับเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ ในบางโอกาส ห้องชั้นล่างเป็นกองรักษาการณ์ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
พระที่นั่งองค์ตะวันออก ชั้นบนเป็นหอประดิษฐานปูชนียวัตถุของพระมหากษัตริย์ ชั้นกลางเป็นห้องรับแขก สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าห้องไปรเวต ปัจจุบันใช้รับรองพระราชอาคันตุกะระดับประมุขของประเทศ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชทานเลี้ยงรับรอง ชั้นล่างเคยเป็นห้องสำหรับราชองครักษ์ในรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันใช้เป็นห้องพักแขก
พระที่นั่งองค์ตะวันตก ชั้นบนเป็นหอประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสี และพระอัฐิพระบรมราชวงศ์ในพระมหากษัตริย์ ชั้นกลาง ในรัชกาลที่ 5 เป็นออฟฟิศหลวง ปัจจุบันใช้เป็นห้องรับแขก ชั้นล่างใช้เป็นห้องสมุด
ท้องพระโรงกลาง ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธี การพระราชกุศลหรือพระราชกรณียกิจอื่นๆ เช่น พระราชทานเลี้ยงรับรองผู้มาเยือนประเทศอย่างเป็นทางการ เสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเฝ้าฯถวายพระพร หรือให้เอกอัครราชทูตถวายพระราชสาส์นตราตั้ง ภายในมีพระราชบัลลังก์ประจำ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร คือ พระที่นั่งพุดตานถม (ถมตะทองบางส่วนเป็นทองคำลงยาประดับเนาวรัตน์) เบื้องหลังพระราชบัลลังก์เป็นซุ้มจระนำ ซึ่งมีภาพเขียนตราจักรีสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นี้ สองข้างพระราชบัลลังก์มีพระทวารไปสู่ท้องพระโรงหลัง และมีพระทวารด้านข้างออก สู่พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
ท้อง พระโรงหลัง เป็นท้องพระโรงเล็กต่อเนื่องกับพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระราชมณเฑียรที่ประทับในรัชกาลที่ 5 ( ปัจจุบันรื้อลงแล้ว ) สมัยก่อนใช้เป็นที่ฝ่ายในเฝ้าฯ เวลามีงานพระราชพิธีในท้องพระโรงกลาง
พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีอีก 2 องค์ คือ
1.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์
พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ เชื่อมต่อกับท้องพระโรงกลางทางด้านตะวันออก สร้างยาวขนานกับมุขกระสัน ระยะแรกเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร แล้วได้แปลงพระที่นั่งองค์นี้เป็นห้องพระราชทานเลี้ยง เรียกว่า “ ห้องโต๊ะ”
2.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เชื่อมต่อกับท้องพระโรงกลางด้านตะวันตก สร้างยาวขนานกับมุขกระสัน ที่เฉลียงหน้ามีอ่างน้ำพุเรียกว่า “ อ่างแก้ว” ในรัชกาลที่ 5 เคยเป็นที่เสด็จออกขุนนาง ประชุมปรึกษาหารือราชการแผ่นดินและบางครั้งโปรดให้แขกเมืองเข้าเฝ้า เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้ว พระที่นั่งองค์นี้เป็นพระราชมณเฑียรข้างใน ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นห้องพระราชทานเลี้ยงกาแฟ หลังจากพระราชทานเลี้ยง
3.พระที่นั่งพิมานรัตยา
สร้างต่อเนื่องกับมุขกระสันของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปทางใต้ สร้างพร้อมกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีพระปรัศว์ซ้ายหลังหนึ่ง พระปรัศว์ขวาหลังหนึ่ง และมีเรือนจันทร์ต่อเนื่องกันอยู่ด้านท้ายพระที่นั่ง พระที่นั่งองค์นี้เคยเป็นพระวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระราชมณเฑียรในหมู่พระมหาปราสาทนี้ ต่อมาในพุทธศักราช 2421 โปรดให้รื้อพระปรัศว์ขวาไปสร้างใหม่ทางเบื้องหลัง เรือนจันทร์ท้ายพระที่นั่ง เพื่อใช้สถานที่สร้างเป็นสวน
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ภาพพระที่นั่งที่จักรีมหาปราสาท เมื่อมองภาพมุมแทยงขวาเล็กน้อย
ข้อมูลทั่วไป
ประเภท พระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง
ที่ตั้ง เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ประเทศไทย
การก่อสร้าง
ปีสร้าง พ.ศ. 2419
ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สถาปัตยกรรม ผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมยุโรป
ผู้ออกแบบ/ตกแต่ง
สถาปนิก ยอน คลูนิช
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งอยู่ระหว่างพระมหามณเฑียร และ พระมหาปราสาท ประกอบด้วย ปราสาท 3 องค์ ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่ละองค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสันโดยตลอด
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอื่นๆ เนื่องจากเป็นผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่ของชื่อ "ฝรั่งสวมชฎา" [1][2]
เนื่องจากความเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งอื่นๆ ทำให้ปัจจุบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกลายเป็นหนึ่งในจุดดึงดูดสำคัญที่สุดของพระบรมมหาราชวัง เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สำคัญที่สุดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศร