The history of the typewriterThe first typewriter is an English registered patent when in England by the famous engineer at 2237 (1694) Henry mill using a Machine that then Writig Mr. William Ottinboet. The Americans were using the Internet as the machine fabrication Typographer's wooden rectangle.2376 (1833) Progin The people of France have the invention machine for the blind, called the Ktypographic, consisting of the combination of keyboard characters when they knock down onto the shaft with the fingers hit the keys letter to the Center, which is the current model of typewriter.พ.ศ.2416 มีการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดแบบมาตรฐานออกสู่ตลาดในสหรัฐอเมริกา มีเครื่องพิมพ์ดีดที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายเพียง 4-5 ยี่ห้อ คือ รอยัล เรมิงตัน ไอบีเอ็ม สมิธโคโรน่า และอันเดอร์วูดส่วนในยุโรปมีนักประดิษฐ์ทำเครื่องพิมพ์ดีดออกจำหน่ายหลายยี่ห้อ เช่น ในเยอรมันนี มีโอลิมเปีย แอดเลอร์ ออบติม่า นอิตาลีมี โอลิวิตตี้ ในฮอลแลนด์มี เฮร์เมส เป็นต้นในประเทศไทยนายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการเดินทางไปสหรัฐอเมริกา มีแนวความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย แต่เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มาก ต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นอักษรมากกว่าชนิดอื่น ในที่สุดก็เลือกได้ยี่ห้อ สมิทฟรีเมียร์เมื่อ พ.ศ. 2438 นายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ ก็ถึงแก่กรรม แต่ในขณะที่ป่วยอยู่ได้มอบหมายให้หมอยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) น้องชายหาวิธีแก้ไขปรับปรุง และแพร่เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยให้กว้างขวางต่อไป พระอาจวิทยาคม ได้นำเครื่องพิมพ์ดีดแสดงโชว์ไว้ที่ร้านทำฟันของท่าน มีประชาชนและข้าราชการที่ไปทำฟันได้พบเห็นและได้รับคำแนะนำจำนวนมาก ต่อมาหน่วยราชการต่าง ๆ ก็สั่งซื้อจำนวนมาก โดยท่านได้สั่งให้โรงงานสมิทฟรีเมียร์ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตและส่งมาถึงเมืองไทยรุ่นแรก พ.ศ. 2440
ในปี พ.ศ. 2467 พระอาจวิทยาคม ได้ปรึกษาและทำการค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณี โดยนายสวัสดิ์ มากประยูร เป็นวิศวกรออกแบบประดิษฐ์ตัวอักษร นายสุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณี ทำหน้าที่ฝ่ายวิชาการ ใช้เวลา 7 ปี ก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จและเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ใน พ.ศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ “เกษมณี” และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
ต่อมาได้มีผู้วิจัยพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณี ยังมีข้อบกพร่องและคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า “ปัตตะโชติ” และสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วเห็นว่าเครื่องพิมพ์ดีดแบบปัตตะโชติ สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8% ในระหว่างปี พ.ศ. 2508 – 2516 ทำให้วงการใช้เครื่องพิมพ์ดีดเกิดความสับสน คณะรัฐมนตรีลงมติให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณค่าเครื่องพิมพ์ดีดจัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดไทยแบบปัตตะโชติ หลังวันที่ 16 ตุลาคม 2516 มีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวและให้มีการจัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดได้ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถพิมพ์ได้เร็ว น้ำหนักเบา เพราะใช้ระบบเครื่องไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์โดยสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่พิมพ์ไว้ในเครื่องและสามารถสั่งให้เครื่องพิมพ์ข้อความเติมได้หลาย ๆ ฉบับ
ขนาดของตัวพิมพแบบเครื่องพิมพ์ ประเภทของเครื่องพิมพ์
ขนาดตัวพิมพที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 3 ขนาด คือ
1. ตัวอักษรขนาดใหญ่เรียกว่า"ไปก้า"์
2. ตัวอักษรขนาดเล็กเรียกว่า"อีลีท"
3. ตัวอักษร IBMเป็นตัวอักษรขนาดเล็ก
แบบเครื่องพิมพ์
การวางแป้นอักษร เป็นสัญลักษณ์ของแบบเครื่องพิมพ์ เครตื ่องพิมพ์ดีดภาษาไทยได้มีการพัฒนา
การวางแป้นอักษรมาแล้วแบบเครื่องพิมพ์มี 2 แบบ คือ
1. แบบเกษมณี เป็นอักษรแป้นเหย้าคือ ฟ ห ก ด ่ า ส ว
2. แบบปัตตะโชติ อักษรแป้นเหย้า คือ ้ ท ง ก า น เ ไ
ประเภทของเครื่องพิมพ์ แบ่งได้ 2 ชนิด
1. เครื่องพิมพ์ดีดที่เป็นอักษรไทยล้วน
2.ท เครื่อง พิมพ์ดีดที่มีอักษรไทยและอักษรอังกฤษ
เครื่องพิมพ์ดีดเป็นอักษรไทยล้วนมี 2 แบบ
1. แบบธรรมดา
2. แบบไฟฟ้า
เครื่องพิมพ์ดีดที่มีทั้งอักษรไทยและอังกฤษอยู่ในเครื่องเดียวกันมี 2 แบบ
1. แบบกอล์ฟบอลล์
2. แบบเฟืองหมุน
การแปล กรุณารอสักครู่..