เรียงความเรื่อง กิจกรรมประหยัดพลังงาน/ลดโลกร้อนในชุมชน
“SCG ร่วมด้วยช่วยกัน ใช้พลังงานอย่างรู้ค่า ลดโลกร้อนในชุมชน”
"... เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้น มีหวังว่าน้ำแข็งจะละลายลงทะเล และรวมทั้งน้ำในทะเลนั้นจะพองขึ้นสิ่งที่ทำให้คาร์บอนในอากาศเพิ่มมากขึ้นนั้น มาจากการเผาเชื้อเพลิง ซึ่งอยู่ในดินและจากการเผาไหม้..."
ตามรอย...พระราชดำรัส ทรงห่วงปัญหาโลกร้อน
วันที่ 4 ธันวาคม 2532
จากพระราชดำรัสข้างต้น แสดงให้เห็นได้ว่า โลกของเราในปัจจุบันกำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ทั้งทางด้านของพลังงานที่กำลังจะหมดไป รวมถึงสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็คือ ฝีมือของมนุษย์เรานี่เอง ไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำก็ตามหากแต่เราขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้วพวกเราทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบและควรตระหนักเสมอว่า นี่เป็นโลกของเราทุกคน ฉะนั้น ปัญหาเหล่านี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นพวกเราสามารถ หยุด! ปัญหาเหล่านี้ได้ โดยเริ่มจากชุมชนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเราก่อนเป็นอันดับแรกแล้วค่อย ๆ แผ่ขยายวิธีการช่วยโลกของเราไปยังประเทศชาติต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันความต้องการทางด้านพลังงานของประเทศมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทั่วโลก กว่าร้อยละ 50 ของความต้องการนี้จำเป็นต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งราคาทางด้านพลังงานที่นำเข้านี้ก็มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในการจัดหาและการใช้พลังงานของประเทศ ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศที่สามารถนำมาผลิตและใช้เป็นพลังงานก็มีปริมาณลดลงซึ่งก็อาจจะมีผลพวงทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้ และในอีกไม่นานทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นก็มีแนวโน้มว่าจะหมดไปในที่สุด ซึ่งในแนวคิดเหล่านี้เป็นแนวคิดที่จุดประกายความคิดพ่อของข้าพเจ้าให้ตระหนักและระลึกอยู่เสมอถึงเรื่องพลังงานที่กำลังจะหมดสิ้นไปจากโลกของเรา พ่อของข้าพเจ้าถือเป็นบุคคลตัวอย่างเป็นผู้นำในชุมชนอย่างแท้จริงในด้านการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยการเริ่มผลิตไบโอดีเซลไว้ใช้เองกับรถยนต์ส่วนตัว วัตถุดิบหลักในการทำก็หาได้จากตามครัวเรือน เช่น น้ำมันพืชที่ใช้แล้วหลังจากการประกอบอาหารประเภททอดต่าง ๆ หรือน้ำมันอะไรก็ได้ในการประกอบอาหาร สำหรับโรงกลั่นไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นโรงงานใหญ่ ๆ พ่อของข้าพเจ้าใช้เพียงเศษวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในบ้าน เช่น ปี๊บ หม้อ เตาไฟ (เตาถ่าน) และถังน้ำ ในการค้นคว้าทดลองผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วแต่ละครั้ง พ่อข้าพเจ้าได้ค้นพบความรู้ หลาย ๆ อย่างจากการผลิตไบโอดีเซล เป็นต้นว่า ไบโอดีเซลช่วยลดการสึกหรอของ -
ชิ้นส่วนเครื่องยนต์เนื่องจากว่ามีสารหล่อลื่นมากกว่าน้ำมันดีเซล อีกทั้ง ไบโอดีเซลสามารถลดมลพิษในไอเสียของเครื่องยนต์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อน เพราะ ในไบโอดีเซลไม่มีสารกำมะถันและมีปริมาณออกซิเจนมากกว่าน้ำมันดีเซลจากปิโตเลียมจึงทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ และสิ่งที่พ่อถือว่าสำคัญมากก็คือ เพราะว่าเราได้ใช้พลังงานทดแทนที่เรานำมาผลิตขึ้นใหม่อีกครั้งและสามารถทำเองได้ เพื่อช่วยต่ออายุให้โลกของเราได้มีพลังงานเหลือเก็บไว้ใช้อีกต่อไป หลังจากที่พ่อของข้าพเจ้าทดลองอยู่หลายครั้งจนประสบความสำเร็จแล้ว พ่อได้เผยแพร่องค์ความรู้และสาธิตวิธีการผลิตไบโอดีเซลให้กับคนในชุมชนที่สนใจ ได้นำความรู้ไปใช้กับครัวเรือนของตนเอง พ่อของข้าพเจ้าได้กล่าวว่า "ถ้าหากเราอยากจะให้ใครก็ตามทำตามแบบอย่างของเรา เราก็ควรที่จะทำให้เขาเห็นซึ่งผลงานของเราก่อน" พ่อของข้าพเจ้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากหลังจากที่ได้เผยแผ่ความรู้ให้กับคนในชุมชนและบุคคลทั่วไป ชื่อเสียงพ่อของข้าพเจ้าเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไปในชุมชน และเป็นบุคคลหนึ่งในประเทศไทยที่มีผู้ให้ความสนใจใคร่ศึกษาวิธีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วในแบบฉบับของพ่ออีกนับหลายร้อยคน
นอกจากวิธีการประหยัดพลังงานของพ่อข้าพเจ้าที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้วนั้น ข้าพเจ้ายังมีวิธีในการที่จะประหยัดพลังงานเพื่อลดโลกร้อนในชุมชน ดังเช่น เปลี่ยนหลอดไฟแบบหลอดใส้ เป็นหลอดไฟแบบตะเกียบ, ไม่ซักผ้าในน้ำอุ่น การตากผ้า แทนที่จะใช้เครื่องอบผ้า ผลการวิจัยบอกว่า ตลอดอายุการใช้งานของเสื้อ 1 ตัวจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากการซัก รีด อบแห้ง ประมาณตัวละ 9 ปอนด์ ซึ่งทำให้เกิดโลกร้อนเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก, หมั่นตรวจเช็ค บำรุง ซ่อมแซม ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทำงานได้นานขึ้น, หันมาใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ, ไปสถานที่ใกล้ ๆ ก็เดินหรือขี่จักรยานไป เพื่อช่วยลดพลังงานน้ำมันและตัวการที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอันส่งผลให้เกิดสภาวะเรือนกระจก หรือ หากไปไหนไกล ๆ จำเป็นต้องใช้รถหากเพื่อนบ้านจะไปสถานที่นั้นด้วย ก็ให้ไปรถคันเดียวกันจะได้ประหยัดน้ำมันลงอีกนิด, เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 25-26 องศาและควรเปิดแอร์ตั้งแต่ 3 ทุ่มครึ่งเป็นต้นไป เพราะ การใช้แอร์ช่วงนี้จะไม่ค่อยมีใครใช้ ทำให้อัตราการคิดเงินต่อหน่วยไฟจะคิดไปเป็นอีกอัตราหนึ่งซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงและก่อนถึงเวลาปิดเครื่องปรับอากาศควรปิดก่อนล่วงหน้าประมาณ 10 - 30 นาที เนื่องจากว่า ความเย็นยังคงอยู่ภายในห้อง แต่ถ้าหากอากาศไม่ร้อนมากก็ไม่ควรเปิดแอร์เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุและปิดไฟทุกดวง ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์การทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นหากเราไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน
วิธีเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนในชุมชนได้ แต่หัวใจสำคัญที่สุดที่จะทำให้กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้นั้น คือ คนในชุมชนทุกคน ซึ่งจะต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ดูแล รักษา ร่วมมือกันแก้ไขวิกฤติการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกของเรา เพราะ มันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ประเทศชาติของเราเท่านั้น มันยังส่งผลกระทบแก่ตัวเราและชุมชนที่เราอาศัยอยู่อีกด้วย หากเราไม่คิดริเริ่มทำคนหนึ่ง แล้วคนในชุมชนคนใดล่ะที่จ