Antiques, one can make a trade, and I have not, or not, depending on whether the object that is registered or not registered. But consider that this is the bestowed relics preserved as a national treasure or not. Which is what the General Director of fine antiques as ancient objects that deserved a national treasure. In 1978, it has the authority and published in the Government Gazette, determines whether it is antiques. "The antiques forbidden to trade" purchasing power and artifacts to preserve a national treasure, the next.Any person wishing to trade the relics, artifacts which are not forbidden to trade. Must obtain a permit from the fine arts Department Director-General before. According to the criteria and procedures set forth in the Ministerial Regulations No. 4 (2539), issued pursuant to the Act on ancient monuments, antiques, artifacts and the National Museum, b.e. 2504. When the fine arts Department Director-General, will announce a list of those allowed to trade in these cases, the Director-General is not allowed. Who permit have the right to appeal in writing within thirty days, Minister. From the date of an order. The Minister's words, is considered the most.เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ทำการค้าโบราณวัตถุแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะต้องแสดงใบอนุญาตค้าโบราณวัตถุไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการค้า และต้องทำบัญชีรายการโบราณวัตถุที่อยู่ในความครอบครองและรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการค้าดังกล่าวสำหรับการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรนั้น แยกได้สองลักษณะ ได้แก่ การส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการเด็ดขาด และการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งมีหลักเกณฑ์การส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรแตกต่างกันออกไป โดยการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการเด็ดขาด กฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร โดยต้องดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ซึ่งมีหลักสำคัญ คือ๑. ผู้ที่ประสงค์จะส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ ศก. ๖ ท้ายกฎกระทรวงฯ ๒. ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องนำโบราณวัตถุที่จะส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรนั้นมาแสดง ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจพิสูจน์ด้วย หรือหากไม่สามารถนำโบราณวัตถุนั้นมาได้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องทำคำขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลเสนอต่อผู้อนุญาตเพื่อให้มีการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ณ สถานที่เก็บโบราณวัตถุ๓. หากโบราณวัตถุที่ต้องการการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนา ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรด้วย๔. โบราณวัตถุที่ได้รับอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรจะต้องมีตราตะกั่วรูปพระคเณศพร้อมกับบัตรแสดงหมายเลขที่ใบอนุญาตตามที่กรมศิลปากรกำหนดผูกหรือผนึกติดกับโบราณวัตถุนั้นทุกชิ้น๕. ผู้รับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔การส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวมีหลักการสำคัญคล้ายคลึงกับการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการเด็ดขาดตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ต้องเพิ่มหลักประกันว่าจะมีการส่งโบราณวัตถุกลับมาในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ ซึ่งพอสรุปหลักการสำคัญในการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ ดังนี้๑. ผู้ที่ประสงค์จะส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ ศก. ๗ ท้ายกฎกระทรวงฯ๒. ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องนำโบราณวัตถุที่จะส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรนั้นมาแสดง ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจพิสูจน์ด้วย หรือหากไม่สามารถนำโบราณวัตถุนั้นมาได้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องทำคำขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลเสนอต่อผู้อนุญาตเพื่อให้มีการตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ณ สถานที่เก็บโบราณวัตถุ๓. หากโบราณวัตถุที่ต้องการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนั้นเป็นพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนา ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรด้วย๔. โบราณวัตถุที่ได้รับอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะต้องมีตราตะกั่วรูปพระคเณศพร้อมกับบัตรแสดงหมายเลขที่ใบอนุญาตตามที่กรมศิลปากรกำหนดผูกหรือผนึกติดกับโบราณวัตถุนั้นทุกชิ้น๕. ผู้รับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต้องวางเงินประกันเป็นเงินสด หรือวางหลักทรัพย์ประกันเป็นพันธบัตรของรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน หรือวางหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เป็นจำนวนเงินเท่ากับราคาประเมินของโบราณวัตถุนั้นไว้กับผู้อนุญาต เพื่อเป็นหลักประกันการชำระค่าปรับในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ส่งหรือนำโบราณวัตถุกลับเข้ามาในราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต โดยผู้อนุญาตมีอำนาจปรับเป็นจำนวนเงินเท่ากับราคาประเมินของโบราณวัตถุนั้น เว้นแต่ไม่สามารถส่งหรือนำกลับมาได้เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย หรือในกรณีมีความจำเป็นและได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปแล้ว๖. กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะยกเว้นการวางหลักประกันให้ก็ได้
การแปล กรุณารอสักครู่..