Economic problems Russia that erupted since mid-2557 and more violent in the end result in the rouble at December weakened to as low as 80 rubles per dollar (more than 60 percent of the weakened compared with the early years and weakened over 22 percent compared with the same period of the previous year), in which the exchange rate weakened the market caused concerns that Russia will repeat history occurred as the foreign debt crisis, like roiklai, who had been born in the year 2541 or not.สำหรับต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจรัสเซียในรอบนี้มีสาเหตุหลักมาจาก (1) รายได้จากการส่งออกของประเทศลดลงมากตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากที่กลุ่มประเทศ OPEC ประกาศคงกำลังการผลิตในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประกอบกับอุปสงค์น้ำมันดิบชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา เนื่องจากเศรษฐกิจรัสเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันสูงถึงกว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด (2) ความขัดแย้งทางการเมืองกับยูเครน ทำให้ชาติตะวันตกคว่ำบาตรทั้งทางการค้าและการเงินกับรัสเซีย ซึ่งรัสเซียได้ตอบโต้ด้วยการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากยุโรปและสหรัฐเช่นกัน ทำให้ราคาสินค้าในรัสเซียแพงขึ้นต่อเนื่องและ (3) เศรษฐกิจรัสเซียชะลอลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2556 จากข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง อาทิ การลงทุนที่อยู่ในระดับต่ำ และปัญหาการคอร์รัปชัน สาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ภาคเอกชนทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนสูญเสียความเชื่อมั่นในสกุลเงินรูเบิล ทั้งยังคาดว่าเงินรูเบิลจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคเอกชนหันไปถือเงินตราต่างประเทศมากขึ้น และเกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากทั้งตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนของรัสเซียการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของเงินรูเบิลทำให้ธนาคารกลางรัสเซียต้องเข้าแทรกแซงในตลาดการเงินเป็นระยะๆ โดยในปี 2557 ธนาคารกลางรัสเซียใช้เงินสำรองระหว่างประเทศไปกว่า 78 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยพยุงค่าเงิน รวมถึงได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 6 ครั้ง จากระดับร้อยละ 5.5 ต่อปีในช่วงต้นปี 2557 เป็นร้อยละ 17.0 ต่อปีในปัจจุบัน นอกจากนั้น ทางการยังออกมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ อาทิ การเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของบริษัทและธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ การกำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ขายเงินตราต่างประเทศออกมามากขึ้น รวมถึงการปล่อยกู้เงินตราต่างประเทศให้กับ ธ.พ. เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัทที่ได้รับผลกระทบด้านสภาพคล่องเงินตราต่างประเทศ อันเป็นผลจากมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินทำให้ไม่สามารถ Refinance กับสถาบันการเงินของชาติตะวันตกได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวช่วยให้ค่าเงินรูเบิลเริ่มมีเสถียรภาพขึ้นบ้างอย่างไรก็ดี ผลกระทบของเศรษฐกิจรัสเซียที่อ่อนแอลงต่อเศรษฐกิจโลกโดยตรงคาดว่าจะมีไม่มากนัก เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจรัสเซียคิดเป็นประมาณร้อยละ 2 ของเศรษฐกิจโลก แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมผ่านคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะประเทศในยุโรปเนื่องจากภาคเศรษฐกิจจริงมีความเชื่อมโยงกันสูง ทั้งนี้ หากพิจารณาเครื่องชี้ด้านเสถียรภาพต่างประเทศของรัสเซียนับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง สัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อเงินสำรองที่ไม่สูงมาก และภาคการคลังที่เกินดุล อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจรัสเซียในมุมมองของนักวิเคราะห์ยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจาก(1) เงินสำรองระหว่างประเทศแม้จะอยู่ในระดับสูงแต่ส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที (2) หนี้ต่างประเทศมูลค่าประมาณ 120 ล้านดอลลาร์ ที่จะครบกำหนดชำระในปี 2558 นี้ (คิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP รัสเซีย และร้อยละ 24 ของเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยกว่าร้อยละ 70 เป็นหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศและส่วนใหญ่อยู่ในภาคเอกชน) มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นหากราคาน้ำมันปรับลดลง และ/หรือ ค่าเงินรูเบิลอ่อนลงกว่าเดิม อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ประเมินว่าธนาคารในยุโรปจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของธนาคารรัสเซีย (Foreign Bank Claims) แต่คาดว่าขนาดผลกระทบจะไม่มากนัก เนื่องจากมูลค่าหนี้ดังกล่าวหากคิดเป็นสัดส่วนต่อสินทรัพย์รวมของภาคธนาคารในยุโรปแล้วถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ และ (3) เศรษฐกิจรัสเซียอาจอ่อนแอลงอีกจากผลทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงและเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงนอกจากนี้ ปัญหาค่าเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงและความกังวลต่อปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของรัสเซียอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก อันเป็นผลจากการ Sell-off ในตลาดการเงินรัสเซียที่อาจทำให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกเฉียบพลัน ซึ่งอาจลุกลามไปยังตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2557 อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์การปรับพฤติกรรมของนักทุน คาดว่าความรุนแรงของการไหลออกของเงินทุนขึ้นอยู่กับพื้นฐานและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยในปัจจุบันประเทศในตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรงผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศคาดว่าจะมีไม่มากนัก เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกไปรัสเซียคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.5 ของการส่งออกรวมทั้งหมด ในขณะที่เงินลงทุนโดยตรงจากรัสเซียในไทยคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.2 ของยอดคงค้างเงินลงทุนโดยตรงทั้งหมดอย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบชัดเจนในภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวรัสเซียมีความสำคัญเป็นอันดับสามของไทย โดยคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ ไทยอาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเงินทุนไหลออกเช่นเดียวกับประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ในกรณีที่เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยสถานการณ์ของรัสเซียในระยะต่อไปยังมีความไม่แน่นอนอยู่มากซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่สำคัญหลายประการ อาทิ ราคาน้ำมัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงมาตรการการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยควรจะต้องติดตามอย่า
การแปล กรุณารอสักครู่..