เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 ปี (ปี 2558) สิบประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) หรือ สมาคมอาเซียน จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายในการเป็นตลาดเดียว และมีฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนในเวทีโลก หน่วยงานต่างๆได้ให้ความสนใจและจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กและ เยาวชน ซึ่งรวมถึงหน่วยงานหลักอย่าง สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ที่ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนประจำอยู่ ล่่าสุดได้จัดกิจกรรมการแข่งขันเขียนเรียงความเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของภูมิภาค เปิดโอกาสให้เยาวชนจากประเทศอาเซียนทั้งสิบประเทศ อายุไม่เกิน 30 ปี ส่งเรียงความเข้าแข่งขัน สสค. จึงขอนำเรียงความที่ได้แปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวมาเผยแพร่ เพื่อนำเสนอมุมมองความเข้าใจเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากเยาวชนในประเทศอาเซียน และอาจใช้เป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในบ้านเรา
เรียงความที่ได้รางวัลชนะเลิศ
การแข่งขันเขียนเรียงความเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย Ms. Mary Anne Therese Manuson จากประเทศฟิลิปปินส์ :
“ตัวเลือกที่มากขึ้น ชีวิตที่สดใส
นี่คือผลประโยชน์ของผู้บริโภคในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”
ที่บ้านของฉันในมะนิลา ในห้องครัวจะมีทั้งบะหมี่ยี่ห้ออินโดมี่จากประเทศอินโดนีเชีย และข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยเก็บไว้อยู่ตลอดเวลา ส่วนรองเท้าของฉันเป็นยี่ห้อวินชี่จากประเทศมาเลเซีย ในขณะที่น้องชายของฉันใช้เครื่องเล่นเพลงอิเล็กทรอนิกส์ ยี่ห้อครีเอทีฟ ที่ผลิตจากประเทศสิงคโปร์ โดยครอบครัวของฉันซื้อสินค้าที่กล่าวไปแล้วได้ในประเทศฟิลิปปินส์นี่เอง
เมื่อปีที่ผ่านมา ฉันได้เดินทางไปประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ฉันได้เห็นสินค้าที่ผลิตจากประเทศฟิลิปปินส์จำนวนมากอยู่บนชั้นวางสินค้าในร้านค้า ไม่ว่าจะเป็น มะม่วงตากแห้ง 7D สบู่ขัดผิวที่ทำมาจากมะละกอ Likas และมันฝรั่งทอดกรอบยี่ห้อ แจ็ค แอนด์ จิล ผู้บริโภคในเขตประเทศอาเซียนไม่เคยมีสินค้าที่หลากหลายชนิดเช่นนี้มาก่อน แต่ในช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมา พวกเราสามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆได้ในราคาถูกและคุณภาพดี โดยแหล่งผลิตที่อยู่ในภูมิภาค สาเหตุที่เราได้มีโอกาสใช้สินค้าและบริการที่ราคาต่ำเช่นนี้ เกิดจากการตัดสินใจเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา โดยผู้นำจาก 10 ประเทศอาเซียนได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 ที่จะมาถึงนี้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ได้เกิดความพยายามที่จะรวมตัวกันทางด้านการตลาดและการผลิต ตลอดจนมีมาตรการลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป
จุดประสงค์หลักของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็คือ เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละประเทศอย่างเต็มที่ ในการผลิตสินค้าและบริการที่แต่ละประเทศมีเชี่ยวชาญ ตลอดจนมีการนำเข้าและส่งออกผลผลิตที่แต่ละประเทศผลิตไปยังประเทศในภูมิภาค โดยปราศจากปัญหาทางด้านความแตกต่างของกฏระเบียบทางการค้า พิธีการทางศุลกากร และอัตราภาษีที่สูง และทันทีที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้น ต้นทุนสินค้าที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ก็จะไม่ถูกคำนวนเป็นราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายอีกต่อไป
ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2015 นี้ อาเซียนจะเปลี่ยนสถานะเป็นเขตเสรีทางการค้า ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในสินค้าหลายประเภท และในอนาคต อัตราภาษีจะค่อยๆลดลงไปอีก แต่ยังมีอัตราภาษีของสินค้าบางประเภทที่จะยังคงไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคของประเทศนั้นๆ สามารถใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศได้เช่นเดิม ตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซียจะยกเลิกภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าประเภทปลาและไม้ แต่จะลดอัตราภาษีสินค้าประเภทผลไม้และข้าว เพราะสินค้าเหล่านี้มีแหล่งผลิตภายในประเทศนั่นเอง
การที่มาตรการกีดกันทางการค้าลดลงหรือยกเลิกไปนั้น ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชากร ความคิด และเงินตรา ทำให้ธุรกิจในภูมิภาคนี้สามารถเปิดดำเนินการหรือขยายการดำเนินการได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจยังหวังว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ในฐานะที่อาเซียนตั้งอยู่ในศูนย์กลางของทวีปเอเชียนั่นเอง หลังจากมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำนวนประชากรในภูมิภาคนี้จะมีจำนวน 584 ล้านคน และทำให้มีจำนวนตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในขณะที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เราก็หวังว่าจะมีการรายรับและมาตรฐานความเป็นอยู่โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในการนี้ อาเซียนได้มีการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประชากรในประเทศสมาชิก โดยริเริ่มประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เช่น ระบบการคุ้มครองทางสังคม เพื่อป้องกันประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งจากการรวมตัวในครั้งนี้ ผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นได้ในบางอุตสาหกรรม เช่น การเดินทางทางอากาศ มีการยกเลิกเขตน่านฟ้าของแต่ละประเทศสมาชิกและตกลงจะรักษาการเปิดน่านฟ้านี้ไว้ ดังนั้น จุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีการเพิ่มเที่ยวบินมากขึ้น ธุรกิจการค้าก็เช่นเดียวสามารถขนส่งสินค้าของตนได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย (รูปแบบการทำพิธีการทางศุลกากรภายในภูมิภาค รูปแบบพิธีการทางศุลกากรนี้จะสามารถร่นเวลาการทำพิธีการทางศุลกากรลงถึงเท่าตัว ซึ่งโครงการนี้ได้ทดลองใช้แล้วในประเทศมาเลเซียและประเทศฟิลิปปินส์) จำนวนสายการบินต้นทุนต่ำที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรในอาเซียนสามารถเดินทางทางอากาศได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีเงินน้อยก็ตาม และส่วนใหญ่การเดินทางของประชากรในเขตอาเซียนไม่จำเป็นต้องใช้วีซ่า (เอกสารตรวจลงตรา) ภายหลังที่ผู้นำของประเทศสมาชิกลงนามในข้อตกลงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผลจากการลงนามในข้อตกลง ทำให้สายการบินต้นทุนต่ำอย่างไทเกอร์ แอร์เวย์ แอร์ เอเชีย และเซบู แปซิฟิกส์ มีการเติบโตของธุรกิจอย่างรวดเร็ว และแต่ละสา