วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)
1. ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้พื้นดิน มหาสมุทร ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำอื่นๆของโลกอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งทำให้เกิด:
• “การระเหย” (Evaporation) คือขั้นตอนที่น้ำ ซึ่งเป็นของเหลว เปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ หรือเปลี่ยนเป็น “ไอน้ำ” (Vapor)
• “การคายน้ำของพืช” (Transpiration) คือการที่น้ำระเหยออกมาจากพืช
2. ไอน้ำที่ระเหยจะลอยตัวขึ้นสูง และเกิดการ “ควบแน่น” (Condensation) หรือ การที่ไอน้ำกลายสภาพเป็น “หยดน้ำ” (Droplets of Water) และรวมตัวกันเกิดเป็นก้อนเมฆ (Cloud)
3. เมื่อเมฆ (ซึ่งก็คือหยดน้ำที่รวมตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก) มีขนาดใหญ่ขึ้น จะเกิดขั้นตอน “หยาดน้ำฟ้า” (Precipitation) ซึ่งก็คือการที่เมฆกลั่นตัว และตกลงมาสู่พื้นผิวโลกในรูปแบบของ ฝน (Rain) หิมะ (Snow) หรือบางครั้งอาจตกมาเป็นลูกเห็บ (Hail) ได้ด้วย
4. น้ำที่ตกลงมาสู่ผิวโลกนั้นจะซึมลงไปในดิน (Infiltration/Absorption) ทำให้เกิด ชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) หรือชั้นหินที่เก็บกักน้ำไว้ใต้ดิน (น้ำบาดาล) นอกจากนี้น้ำที่ตกลงมาสู่พื้นดินอาจถูกดูดซับและนำไปใช้โดยพืช หรือกลับไปสู่แหล่งน้ำ เช่น ทะเล, ทะเลสาบ โดยตรงก็ได้
5. เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว วัฏจักรของน้ำก็จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
สรุปวัฏจักรของน้ำ
การระเหย/การคายน้ำของพืช -->การควบแน่น--> หยาดน้ำฟ้า--> ซึมลงดิน--> ชั้นหินอุ้มน้ำ/แหล่งน้ำ/ดูดซับโดยพืช