After แพลงก์ตอนจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพและขนาด ทำให้แพลงก์ตอนไม่สามารถรักษาการเคลื่อนที่การต่อกระแสน้ำได้ จึงลอยไปตามทิศทางของกระแสน้ำเท่านั้น แพลงก์ตอนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (นันทนา คชเสนี,2554 : 39) แพลงก์ตอนพืชเป็นสาหร่ายที่ล่องลอยอยู่ในน้ำสามารถสังเคราะห์แสงได้ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม แพลงก์ตอนพืชหลายชนิดเป็นอาหารโดยตรงของมนุษย์ เช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า บางชนิดใช้เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น สาหร่ายคลอเรลลา ซึ่งมีสารคลอเรลลิน ที่ใช้เป็นยาปฏิชีวนะได้ โดยทางอ้อมของแพลงก์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตที่สำคัญในแหล่งน้ำ มีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้น โดยแพลงก์ตอนพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อมโยงระหว่างผลผลิตปฐมภูมิ (Primary Productivity) กับปลาและสัตว์น้ำ แพลงก์ตอนพืชจึงถือเป็นหลักฐานในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ของแหล่งน้ำธรรมชาติ (ธิดาพร ฉวีภักดิ์ และนิคม ละอองศิริวงศ์, 2548) On the nature of the water source, nutrients that are essential for the growth of plankton plants buy adequate to the needs of living organisms in the water, but at present the various nutrients from sewage or waste water was released into the river. Cause that is called acidification (Eutrophication) cause a plant plankton growth occurred quickly and increase the number of Plankton blooms or Algel bloom called, which causes the water change color effect, decreased oxygen in the bacteria used in the night-time digestion causes the creature in the water to die due to lack of oxygen (Unity for Hsu and daughters porn clean Siri estates, 2548 (2005)) ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายตัวของสาหร่ายมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อุณหภูมิ ฤดูกาล รวมทั้งปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำ โดยในฤดูฝนอาจมีการชะล้างสารอาหารธรรมชาติจากพื้นดินสู่แหล่งน้ำสะสมไว้เป็นอาหารของแพลงก์ตอนพืช เมื่ออุณหภูมิมีสภาวะเหมาะสมจะทำให้เกิดการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว การศึกษาแพลงก์ตอนพืชจะช่วยให้รู้ถึงชีววิทยาในแหล่งน้ำได้มากขึ้นโดยสามารถบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ หรือผลผลิตของแหล่งน้ำ สามารถเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำรวมทั้งบ่งบอกถึงความเน่าเสียของแหล่งน้ำ โดยแพลงก์ตอนพืชแต่ละชนิดมีความทนต่อคุณภาพน้ำแตกต่างกันซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำเลย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญมากต่อประชาชนในจังหวัดเลย โดยการใช้แหล่งน้ำทำการเกษตร และการประมง เป็นต้น2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2.1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของแพงต้นพืชที่กระจายตัวในแม่น้ำเลยจังหวัดเลย 2.2 เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีบางประการของแหล่งน้ำซึ่งสามารถส่งผลต่อปริมาณและชนิดของแพลงก์ตอนพืช 2.3 นำข้อมูลต่างๆที่ศึกษามาเปรียบเทียบการกระจายตัวของแพลงตอนพืชและคุณภาพของแหล่งน้ำ 2.4 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำของแม่น้ำเลยจังหวัดเลย
การแปล กรุณารอสักครู่..