การที่ดนตรีของ Mozart ได้ปรากฏอยู่ในงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักคณิตศาสตร์หลายต่อหลายรุ่นได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงานดนตรีของ Mozart กับสัดส่วนทอง (Golden Ratio) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่ามีปรากฏการณ์ Mozart (Mozart Effect) กล่าวคือการฟังดนตรีของ Mozart สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้สมาธิของนักเรียน อันจะนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้น
Windhill Primary School ใน Southern Yorkshire ของอังกฤษ ได้จัดให้มีโปรแกรมทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการฟังดนตรีและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ดนตรีที่ใช้ในการทดลองไม่ใช่มีเพียงแค่งานของ Mozart เท่านั้น งานของ Chopin Brahms Beetheven หรือแม้กระทั่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ Mission Impossible ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าดนตรีของ Mozart จะเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด จากการทดลองพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ฟังดนตรีของ Mozart aroque composer) มีผลสัมฤทธิ์ทางศึกษาดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้ฟังดนตรีของ Mozart ถึง 10% โดยเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังก็คือ ….
ดนตรีของ Mozart ที่มีแบบรูปของโน้ตดนตรีที่ซับซ้อนสามารถกระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ได้เนื่องจากสามารถเข้าถึงสมองส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคิดเชิงคณิตศาสตร์โดยตรง ในขณะที่ดนตรีชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้
อดคิดเล่น ๆ ไม่ได้ว่าดนตรีไทยเดิมของเรา เช่น ม้าย่อง ค้างคาวกินกล้วย จะกระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ได้อย่างดนตรีของ Mozart ไหมหนอ..
(ทีมา : http://plus.maths.org/issue22/news/mozart/index.htmlrl)
ตัดตอนมาจากวารสารสสวท. ฉบับมค.-กพ.45