พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในหนังสือฟื้นความหลังไว้ว่า “การเล่นของเด็กปูนนี้ไม่มี ปืน ไม่มีรถยนต์เล็กๆอย่างที่เด็กเล่นกันเกริกในเวลานี้ลูกหนังสาหรับเด็กเล่น แม้มีแล้วก็ราคาแพง และยังไม่แพร่หลาย ตุ๊กตาที่มีดินคือตุ๊กตาล้มลุกและตุ๊กตาพราหมณ์นั่งเท้าแขนสาหรับเด็กหญิงเหล่านี้ เด็กๆชาวบ้านไม่มีเล่นเพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำให้หรือไม่ก็เด็กทำกันเองตามแบบที่สืบต่อกัน มา ตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสานด้วยทางมะพร้าวสาหรับเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว
ควาย ปั้นด้วยดินเหนียว”ของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ กลองหม้อตาล ในสมัยนั้นขายน้าตาล
เมื่อขายหมดแล้ว เด็กๆก็นามาทาเป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้วหุ้มปากหม้ อ เอาเชือกผูกรัดคอหม้อ ให้แน่นแล้วเอาดินเหนียวเหลวๆละเลงทาให้ทั่ว หาไม้เล็กๆ มาตีผ้าที่ขึงข้างๆหม้อโดยรอบเพื่อขันเร่ง ให้ผ้าตึงเป็นอันสำเร็จ ตีได้มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่าจนผ้าหุ้ม ขาดก็ทำใหม่
ส่วนเด็กหญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น หม้อข้าวหม้อแกง หรือเล่นขายของ หุงต้มแกงไปตามเรื่อง เอาเปลือกส้มโอ เปลือกมังคุด หรือใบบิดผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อยคั้นเอาน้าข้นๆ รองภาชนะอะไรไว้ ในไม่ช้าจะแข็งตัวเอามาทำเป็นวุ้น คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่จิตวิทยาโดย ตีความหมายของการแสดงออกของเด็กไปในเชิงทานายอนาคต หรือแสดงบุพนิมิตต่างๆความเชื่อ เช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน สาหรับการละเล่นของไทย พระยา อนุมานราชธน ได้กล่าวไว้ว่า การละเล่นพื้นบ้านของไทยมีมาแต่สมัยดึกดาบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์ น่าจะได้แก่ “แตกโพละ” โดยเอาดินเหนียวปั้นเป็นรูปกระทงเล็กๆแต่ให้ส่วนที่เป็นก้นมีลักษณะบาง
ที่สุดที่จะบางได้ และขว้างลงไปบนพื้นให้แรงก็จะมีเสียงแตกดังโพละ และเป็นช่องโหว่ที่ก้นแล้วเอา ดินแผ่นบางๆ มาทาให้เท่ารูโหว่ การละเล่นนี้จะเกิดขึ้นเพราะมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะและ เด็กเห็นผู้ใหญ่ทาจึงนามามาปั้นเล่นบ้าง
การละเล่นของไทยเท่าที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็ว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ปรากฏในบท ละครเรื่องมโนห์ราครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่า ลิงชิงเสา ปลาลงอวน บทละครเรื่องนี้นี้สมเด็จ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่น ของไทยแต่เดิมมาและบางอย่างยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้หากมีการสืบทอดวิธีเล่นบางอย่างที่ดีงาม นามาปรับให้เข้ากับยุคสมัยก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทย ไม่เฉพาะแต่การพัฒนาบุคคลเท่านั้น ยัง ช่วยพัฒนาสังคมอีกด้วย
3.ประเภทของการละเล่นพื้นบ้านของไทย
นักวิชาการด้านคติชนวิทยาให้ความสนใจการละเล่นเพียงเล็กน้อย และไม่ค่อยคำนึงถึง
ธรรมชาติของการเล่นจะมุ่งแต่สนใจในด้านประวัติและการถ่ายทอดวิธีเล่น ไม่มีการจัดแบ่งประเภท
ของการละเล่น ในปี 1995Grain Sutton-Smith ได้นาเสนอผลงานชื่อ The Game of New Zealand
Children โดยเขาได้จัดประเภทของการละเล่นออกเป็น 4 แบบ แต่ละแบบมีพื้นฐานจากพฤติกรรม ดังนี้