จากการวิเคราะห์แบบทดสอบนักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดย ปี3 จำนวน 29 ปี4 จำนวน 21 คน รวม 50 คน สามารถสรุปได้ว่านักศึกษาที่สามารถทำแบบทดสอบทั้ง 4 ส่วนได้ บอกความหมาย เข้าใจและรู้การใช้คำอุทาน สามารถเข้าใจและนำไปใช้รูปประโยค เช่น 咳(hāi) 嘿(hēi)咦(yí)啊(Ā) เป็นเพราะนักศึกษามีความเข้าใจความหมายของคำอุทานในภาษาจีนของคำนี้ได้ดี มีความสนใจที่ศึกษาเกี่ยวกับคำอุทาน
นักศึกษาที่สามารถทำแบบทดสอบทั้ง 4 ส่วนได้ คิดเป็นร้อยละ 27.9
17
ถึงอย่างไรก็ตามนักศึกษาก็ยังมีปัญหาการใช้คำอุทานในภาษาจีนเป็นอย่างมาก เช่น ความเข้าใจในความหมายของคำอุทานในภาษาจีนกับคำอุทานในภาษาไทยแล้วทำให้เกิดปัญหาการใช้คำอุทานในรูปประโยคผิดซึ่งเกิดจากภาษาแม่เช่น嘻(xī )喔(Ō) นักศึกษาที่มีปัญหาการใช้คำอุทานหรือการทำแบบทดสอบทั้ง 4 ส่วนไม่ได้ทั้งนักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาสาขาภาษาจีนชั้นปีที่ 4 รวม 50 คน คิดเป็นร้อยละ 72.1
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัญหาการใช้คำอุทานในภาษาจีนของนักเรียนไทยยังอยู่ในระดับที่สูงควรได้รับการพัฒนา ความรู้ ความเข้าใจรู้ในความหมายของคำระหว่างภาษาจีนกับภาษาแม่ และวิธีการใช้ในรูปประโยค เพื่อความสามารถในการใช้คำอุทานอย่างมีประสิทธิภาพ