หอสักการะฟ้าเทียนถัน (Abkai mukdehun) เป็นหอบูชาที่มีการตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน หอแห่งนี้ได้มีการสร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง จักรพรรดิองค์ที่ 3 (หย่งเล่อ) เมื่อปี ค.ศ. 1420 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 14 ปี ในช่วงเวลาเดียวกับการก่อสร้างพระราชวังหลวง สิ่งปลูกสร้างสำคัญต่าง ๆ ในเทียนถาน เช่น “หยวนชิว” หรือ “แท่นบวงสรวงฟ้า” “ฉี่เหนียนเตี้ยน” หรือ “ตำหนักสักการะ” และ “ตำหนักหวงฉุงยูว์” หรือ “หอเทพสถิต” เป็นต้น และได้มีการใช้ชื่อว่า เทียนตี้ถัน หมายความว่า หอแผ่นดินและฟ้า และในเวลาต่อมาปี ค.ศ. 1534 ได้มีการสร้างหอสักการะ ตี้ถัน ขึ้น และที่มาชื่อของหอนี้จึงกลายมาเป็นเทียนถันอย่างเดียว เมื่อปี ค.ศ. 1889 ได้มีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้นคือมีฟ้าผ่าลงมาบนหอบูชาฟ้าเทียนถานและได้รับความเสียหาย จากนั้นทางการจีนจึงได้มีการสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1906 ซึ่ง หอบูชาฟ้าเทียนถาน ภายในได้มีการสร้างให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 32.5 เมตร และ สูง 38 เมตร โดยมิได้ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว ซึ่งเป็นวิธีการก่อสร้างอาคารไม้ในสมัยก่อน เมื่อเดินผ่านประตูเข้าไปแล้ว สิ่งแรกที่เห็นก็คือลานหินอ่อนทรงกลมขนาดใหญ่ แบ่ง 3 ขั้น 3 ระดับ แต่ละชั้นล้อมด้วยลูกกรงหินอ่อน เช่นเดียวกับที่เห็นในพระราชวังต้องห้ามเมื่อตอนเช้า ลานทรงกลมนี้มีชื่อว่า หยวนชิวซึ่ง ลานชั้นบนสุด ใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปยืนถ่ายภาพตรงจุดศูนย์กลางกันเป็นจำนวนมาก
“หยวนชิว” หรือ “แท่นบวงสรวงฟ้า” หรือว่า หอสักการะฟ้าเทียนถัน มีลักษณะทรงกลม เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีเซ่นไหว้ฟ้าในช่วงฤดูหนาวของในแต่ละปีและสามารถขอฝนในช่วงฤดูร้อน จักรพรรดิของเมืองจีน จะต้องเสด็จมา ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อกราบไหว้ขอบคุณสวรรค์ที่ ช่วยบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแห่งพืชผลมาตลอดปี “แท่นบวงสรวงฟ้า” มีฐานทั้ง 3 ชั้น ได้มีการสร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีความสูงกว่า 5 เมตร เมื่อยืนอยู่จากจุดของ “แท่นบวงสรวงฟ้า”แล้ว มองไปทั้งสี่ทิศจะสามารถเห็นท้องฟ้าสีครามที่กว้างใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขต ส่วนจุดของพื้นที่เท้ากำลังสัมผัสอยู่นั้นเป็นฐานหินสีขาวอมเทา ทำให้รู้สึกประดุจยืนอยู่ท่ามกลางมวลหมอกในท้องทะเลกว้างหรือเหมือนอยู่บนชั้นอวกาศ