Assuming the text to produce financial statements.1. accrual basis (accrual basic) accounting entries and events to be recognized when incurred, not when they are (earned) or paid (realized) or receive or pay a reasonable amount of things that can be changed in the future, dadai (realizable) also lists saved and displayed in the financial statements as it thickens.For example,การขายสินค้าเป็นเงินสด หรือ การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ รายได้เกิดขึ้นแล้วหากมีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว ดังนั้นการรับรู้เป็นรายได้ของงวด โดยยึดเรื่องการเกิดขึ้นมิใช่การรับเงิน เป็นเกณฑ์การรับรู้รายได้ แต่ถ้าหากลูกค้าจ่ายเงินล่วงหน้าค่าสินค้า รายได้ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อ กรณีนี้จะรับรู้เป็นรายได้รับล่วงหน้า หรือหนี้สินการจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นเงินสด หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว หากได้รับการบริการแล้วในงวดนั้น ถึงแม้จะได้จ่ายเป็นเงินสด หรือยังไม่จ่ายเงินก็ตาม ถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น โดยยึดการเกิดขึ้นมิใช่การจ่ายเงิน แต่ถ้าหากเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ถือว่าค่าใช้จ่ายยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ได้รับบริการในงวดนั้นแต่มีการจ่ายเงินแล้ว กรณีนี้จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์การใช้เกณฑ์คงค้างในการจัดทำงบการเงิน จะทำให้ข้อมูลที่แสดงในงบการเงินสะท้อนฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้ถูกต้องกว่าเกณฑ์เงินสด (cash basic) เนื่องจากงบการเงินควรแสดงข้อมูลในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว มิใช่แสดงการรับหรือจ่ายเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด2.การดำเนินงานต่อเนื่อง (going concern) กิจการไม่มีเจตนาหรือความจำเป็นที่จะเลิกกิจการ หรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ ข้อสมมตินี้มีความสำคัญมากถ้าหากไม่มีข้อสมมตินี้ การกำหนดงวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชีจะยุ่งยากมาก เพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ากิจการจะเลิกเมื่อไร นอกจากนี้การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ไม่อาจใช้ราคาทุนเดิม หรือราคาอื่นที่เหมาะสม แต่ต้องใช้ราคาบังคับขายหากคาดว่าจะมีการเลิกกิจการในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้จะมีปัญหาเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคา หรือค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพ เพราะไม่สามารถประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ได้ และไม่สามารถแยกประเภทรายการสินทรัพย์ และหนี้สินเป็นรายการหมุนเวียน และไม่หมุนเวียนได้ ตลอดจนไม่สามารถรับรู้รายจ่ายฝ่ายทุนเป็นสินทรัพย์แล้วตัดจำหน่ายตามระยะเวลาที่เหมาะสมแต่ถ้ากิจการมีเจตนาหรือความจำเป็นที่ไม่สามารถใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปได้ เช่นกิจการกำลังอยู่ในสถานะมีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือถูกฟ้องล้มละลาย กิจการอาจใช้เกณฑ์อื่นในการจัดทำงบการเงิน แต่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้กิจการไม่สามารถใช้เกณฑ์การดำเนินงานต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดเผยเกณฑ์บัญชีอื่นที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินด้วยลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินลักษณะเชิงคุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้1.ความเข้าใจได้ (understandability) ข้อมูลในงบการเงินที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินเพื่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชี รวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษา ดังนั้นการจัดทำงบการเงินถึงแม้ว่าข้อมูลจะซับซ้อน ถ้าข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกันการตัดสินใจ กิจการต้องแสดงข้อมูลไว้ในงบการเงินเสมอ โดยต้องถือเสมือนว่าผู้ใช้งบการเงินสามารถทำความเข้าใจในข้อมูลที่แสดงไว้ได้
2.ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (relevance) ข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ การที่จะระบุว่าข้อมูลเช่นไรจึงมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจควรพิจารณาทั้งจาก วิธีการนำเสนอ และความมีนัยสำคัญ ดังนี้
วิธีการนำเสนอข้อมูล
2.1ข้อมูลในงบการเงินต้องแสดงรายการและตัวเลขอย่างน้อย 2 งวดเปรียบเทียบกัน เพื่อสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต สามารถประเมินเหตุการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
2.2 ข้อมูลในงบการเงินต้องมีการจัดประเภท ให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ เช่น ในงบดุลถ้าไม่มีการแบ่งสินทรัพย์ และหนี้สิน เป็นหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ก็ไม่สามารถประเมินสภาพคล่องโครงสร้างทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ได้
2.3 ต้องมีการแยกรายการพิเศษหรือรายการไม่ปกติออกจากรายการปกติ
2.4 ต้องนำเสนอข้อมูลให้ทันเวลาต่อการตัดสินใจ เพราะถ้านำเสนอข้อมูลล่าช้า ข้อมูลนั้นก็ไม่มีประโยชน์หรือไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
ความมีนัยสำคัญ
ความมีนัยสำคัญ จะขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่างบการเงินต้องแสดงข้อมูลที่มีนัยสำคัญเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ภายหลังงบดุล เช่นบริษัทต้องปิดบัญชีทุกสิ้นปี แต่ต้นปีเกิดเพลิงไหม้โรงงานเสียหาย 10 ล้านบาท กับเสียหาย 5 หมื่นบาท กรณีแรกถือว่ามีนัยสำคัญ กิจการต้องเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินภายใต้หัวข้อ เหตุการณ์ภายหลังวันที่งบดุล เนื่องจากขนาดของความเสียหายมีนัยสำคัญ ส่วนกรณีที่สองกิจการไม่จำเป็นต้องเปิดเผย เพราะขนาดความเสียหายไม่มีนัยสำคัญ อีกตัวอย่าง กิจการตรวจพบต้นปีลืมบันทึกค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรของปีที่แล้ว 10 ล้านบาท กรณีดังกล่าวกิจการต้องปรับปรุงรายการนี้เป็นของปีที่แล้ว เนื่องจากขนาดของความผิดพลาดมีนัยสำคัญ ซึ่งหากกิจการไม่ปรับปรุง จะทำให้งบการเงินมีความผิดพลาด เช่นกำไรสูงเกินจริง ซึ่งอาจกระทบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ของผู้ใช้งบการเงิน แต่ถ้าจำนวนเงินน้อยจนไม่มีนัยสำคัญก็ไม่จำเป็นต้องปรัปปรุง
3.ความเชื่อถือได้ (reliability) มีลักษณะอีก 5 ประการ
3.1กา
การแปล กรุณารอสักครู่..