Wat tha Sung Temple sensual glass embellishment, gold Castle. Wat tha Sungหากเอ่ยถึงจังหวัดอุทัยธานี เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามว่า จังหวัดนี้มีอะไร? แต่ถ้าเอ่ยชื่อ “วัดท่าซุง” เชื่อว่าคงมีหลายคนคุ้นหูกับชื่อนี้ขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย เนื่องจากวัดท่าซุงถือเป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งหนึ่งของ เมืองอุทัยธานี ซึ่งภายในวัดก็มีสิ่งปลูกสร้างที่น่าสนใจมากมายที่ล้วนแต่วิจิตรงดงามตระการ ตามากๆ รวมถึงชื่อเสียงและแรงศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็ทำให้วัดนี้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เราจึงถือโอกาสเดินทางมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และชมความสวยงามของวัดไปในคราวเดียวกันเลย “วัดท่าซุง” เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากเนื่องจากในอดีตบริเวณนี้เป็นเส้นทาง สัญจรทางน้ำที่สำคัญและมีการล่องซุงกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแพซุงมักจะแวะหยุดพักกันที่หน้าวัดนั่นเอง ซึ่งชื่อวัดที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการก็คือ “วัดจันทาราม” วัดแห่งนี้จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองอุทัยมายาวนาน จากวัดเล็กๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีเพียงพระอุโบสถขนาดเล็ก ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติด้วยฝีมือพื้นบ้าน ก็ค่อยๆ ขยายพื้นที่และมีการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ บริเวณทั้งหมดของวัดแบ่งเป็นที่ตั้งวัดเก่า และวัดใหม่ เราเริ่มต้นกันที่บริเวณวัดเก่าอันประกอบไปด้วยโบสถ์ขนาดเล็กที่มีจิตรกรรม ฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติซึ่งเขียนโดยฝีมือช่างพื้นบ้าน ภายในประดิษฐานพระประธานและพระบรมสารีริกธาตุเป็นจำนวนมาก ใกล้กันเป็นวิหารหลวงพ่อใหญ่และหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเชื่อความ ศรัทธาว่าขออะไรแล้วก็จะสัมฤทธิ์ผลตามที่ขอ นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองให้เราได้สักการะอีกเช่นกัน รวมถึงศาลามณฑปแก้วที่สร้างขึ้นมาใหม่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปจำลอง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ก็ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเก่าเช่นกัน การเยี่ยมชมตามส่วนต่างๆ ของวัดท่าซุง ต้องอาศัยพาหนะในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันค่อนข้างไกล ถ้าไม่ได้ขับรถมาเอง ทางวัดก็มีรถราง และรถสามล้อของชาวบ้านพาเที่ยวชมในราคาย่อมเยา อาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในวัดท่าซุง มีการเปิด-ปิด แบ่งเป็นช่วงเวลาเช้า-บ่าย นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบเวลาที่แน่นอนก่อนจะได้ไม่ไปเสียเที่ยว หลังจากเดินชมวัดเก่าแล้ว เราก็ข้ามไปที่ฝั่งตรงข้ามถนนซึ่งเป็นพื้นที่วัดใหม่ของวัดท่าซุง บริเวณนี้จะประกอบไปด้วยปูชนียสถานและสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมาย และที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ “มหาวิหารแก้ว 100 เมตร” ที่ภายในประดับด้วยโมเสกสีขาวและกระจกวิบวับไปทั้งหลัง ด้านหนึ่งประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานและพระอรหันต์อีก 7องค์ ส่วนอีกด้านเป็นบุษบกตั้งสังขารที่ไม่เน่าไม่เปื่อยของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ด้านบนเพดานของวิหารประดับด้วยช่อไฟระย้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่รวมกว่า 119 ช่อ และด้วยลักษณะของโมเสกสีขาวและกระจกที่ใช้ประดับทั่วทั้งวิหารทำให้ภาพที่ เห็นตรงหน้าเป็นภาพสะท้อนไปมาเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุดอย่างไรอย่างนั้น ทันทีที่เราก้าวเท้าเข้าไปภายในวิหารแก้วเราก็สัมผัสได้ถึงความงดงามอลังการ ของการตกแต่งที่ตระการตามากๆ อีกทั้งบรรยากาศที่เงียบสงบและเย็นสบายของวิหารแห่งนี้ก็ทำให้จิตเราสงบขึ้น อย่างบอกไม่ถูก หลังจากชื่นชมความงดงามของวิหารแก้วจนจุใจแล้ว เราไม่ลืมที่จะแวะเวียนไปชม “ปราสาททองคำ” อาคารขนาดใหญ่ที่มีความวิจิตรงดงามประณีตมากๆ ส่วนต่างๆ ของปราสาทตกแต่งด้วยทองคำเปลว ติดกระจก ซึ่งปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ 50 พื้นที่ภายในปราสาทจะใช้เป็นสถานที่เป็นพระพุทธรูปที่ญาติโยมนำมาถวายวัด แต่ในปัจจุบันบริเวณภายในยังคงเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อย่างใกล้ชิดเช่นกัน
การแปล กรุณารอสักครู่..