History................. Wat Arun Temple, there are ancient, but it is also the capital of the Ayutthaya period. Originally named how to measure ... Thonburi King krung Thonburi deign to restore Church and renamed as notified. Why change the name olive comes from the temple is a temple, because when the notice of God, thon buri. The enemy has been defeated and the people there are free images of Ayutthaya Thailand: originally, but was unable to live at the old capital is old. So very long down on the Chao Phraya River. To find the location of the new capital. Enough to fit in this temple of the day notice ... Lord God, thon buri is a rich mixture of sacred, auspicious, so please restrain University.กระบวนผู้คน ให้เทียบเรือพระที่นั่งเข้ากับท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการะบูชา พระมหาธาตุ คือพระพุทธปรางค์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำข้างหน้าวัด ต่อมาได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด แล้วเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นวัดแจ้งเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิมข้างใต้วัดแจ้ง แต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๘ ทรงมอบหน้าที่ให้บำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่หมดทั้งวัด แต่การปฏิสังขรณ์ ทำได้สำเร็จเพียงกุฏีสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาลที่ ๑..................... ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อ โปรดให้สร้างพระอุโบสถ และพระวิหารต่อจากที่เริ่มสร้างไว้แล้วในสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่พระอุโบสถโปรดให้สร้างพระระเบียงล้อมรอบ การสร้งพระอุโบสถและพระวิหารเสร็จแล้ว ยังโปรดให้บูรณะพระอุโบสถและพระวิหารเก่าหน้าพระปรางค์หน้าวัด กับสร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง การปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ สำเร็จเรียบร้อย ก็มีการฉลองและพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม ต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาพระมหาธาตุหรือพระพุทธปรางค์ข้างหน้าวัด ขึ้นใหม่ให้เป็นที่งามสง่า พระปรางค์เดิมสูงเพียง ๘ วา ทรงพระราชดำริว่าควรจะเสริมสร้างให้ใหญ่สูงเป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงโปรดให้กำหนดการลงมือขุดคลองรากทำเป็นฐาน แต่การยังไม่สำเร็จก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๒ เสียก่อน..........................รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบมาจนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ทรงพระราชดำริถึงพระมหาธาตุที่วัดอรุณฯ ซึ่งสมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระราชดำริไว้และค้างอยู่นั้น ควรจะดำเนินการให้สำเร็จดังพระราชประสงค์ จึงได้ทรงคิดแบบอย่างแล้วโปรดให้ลงมือสร้างพระพุทธปรางค์ เป็นพระมหาเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว ฐานวัดโดยรอบได้ ๕ เส้น ๑๗ วาในรัชกาลนี้ ยังโปรดให้สร้างพระมณฑป ขึ้นระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง กับสร้างพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๒ ขึ้น ๔ องค์ ในบริเวณด้านใต้พระระเบียง และยังโปรดให้สร้างซุ้มประตูในย่างกลางพระระเบียง ตรงหน้าพระอุโบสถออกมา ทำเป็นยอดทรงมงกุฏ และสร้างยักษ์ยืนคู่หนึ่งประจำที่หน้าซุ้มประตูด้านนี้ด้วย.....................เมื่อรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ต่อมาโปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น สร้างบุษบกยอดเป็นทรงปรางค์ขึ้นที่ผนังหุ้มกลอง ด้านหน้าพระอุโบสถ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างพระมหาจักรพรรดิ์ แห่งหนึ่ง กับที่ผนังหุ้มกลองด้านหลังพระอุโบสถอีกแห่งหนึ่ง กับโปรดให้ประดับฝาผนังด้านนอกพระอุโบสถและพระวิหารด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ...................อนึ่ง พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นหุ่นด้วยฝีพระหัตถ์ นั้นยังไม่มีพระนาม จึงพระราชทานนามถวายว่า พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก และที่โปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ ณ พระพุทธบัลลังก์ของ
พระประธานองค์นี้ด้วย กับที่พระวิหารโปรดให้อัญเชิญพระอรุณ ที่อัญเชิญมาแต่เวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ในพระวิหารอยู่ข้างหน้า พระพุทธชัมภูนุชมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร พระประธานในพระวิหารนั้นเมื่อการ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสำเร็จแล้ว ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอรุณราชวราราม ดังที่เรียกกันจนถึงทุกวันนี้
การแปล กรุณารอสักครู่..