รลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา
ความเป็นมา
ประเพณีการลอยกระทงจึงเป็นประเพณีเก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ประเทศไทยของเรารับวัฒนธรรมประเพณีมาจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ซี่งมีข้อสันนิษฐานอยู่ ๓ ประเด็นคือ
๑. ชาวอินเดียโบราณมีประเพณีบูชาแม่คงคาในฐานะเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของเขาและน้ำมีคุณอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิต ช่วยชีวิตให้อยู่รอดดับร้อน ผ่อนกระหายเขา เรียกประเพณีนี้ว่า “จองเปรียง”
๒. มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่าชาวอินเดียโบราณได้จัดพิธีบูชาพระพุทธบาท ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุทธา ที่แคว้นทักขิณาบถเป็นประจำทุกปี
๓. ในราวเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน ชาวอินเดียทางภาคใต้แม้ในปัจจุบันนี้ก็นิยมจัดประเพณี พระเป็นเจ้า โดยจัดเป็นขบวนแห่รูปหุ่นพระเป็นเจ้าในตอนกลางคืน ในขบวนก็จะจุดโคมไฟและจุดเทียนสว่างไสวแห่แทนไปตามถนนสายต่าง ๆ หลังจากนั้นก็จะนำขบวนมุ่งไปยังท่าน้ำที่กำหนดไว้ เพื่อทำพิธีบูชาและเฉลิมฉลองเสร็จแล้วจะลอยรูปหุ่น พร้อมทั้งโคมไฟไปตามแม่น้ำ ประเพณีนี้เรียกว่า “ทีปะวารี”
ประเพณีการลอยกระทง น่าจะเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องมีน้ำตามกระแสน้ำ เพื่อขอบคุณพระแม่คงคา หรือเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้งเป็นการแสดงความคารวะขออภัยที่ได้ลงอาบ หรือปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งเป็นการบูชาเทพเจ้าตลอดจนรอยพระพุทธบาท พระเจดีย์จุฬามณี ฯลฯ ตามคติความเชื่อ โดยแท้จริงการลอยกระทงมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้าตามคติความเชื่อ
๒. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
๓. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว
t22ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลายตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ พระสนมเอกก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “ แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน ” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน