1.นันทนาการ (recreation) เป็นการละเล่นที่เลียนแบบการแสดง หรือละคร เป็น การละเล่นตามบทบาทและการเลียนแบบ
2.เกม (game) เป็นการเล่นแข่งขัน ซึ่งจะมีผู้แพ้และผู้ชนะ
3.การแข่งขันระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน เป็นการละเล่นที่เน้นหนักไปในการวางแผน
4.การละเล่นที่อาศัยโชค เช่น การทาย
ในประเทศไทย การรวบรวมเรื่องการละเล่นกระทากันแพร่หลายแต่การวิจัยการละเล่นนั้นๆตาม วิธีการทางคติชนวิทยา (Folklore)และชนชีพิตศึกษา (Folklore) ยังไม่ปรากฏแพร่หลาย มีงานวิจัยและ รวบรวมที่ปรากฏ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2463 สมเด็จกรมพระยาดารงราชานนุภาพ ทรงโปรดให้รวบรวมบทกล่อมเด็ก บท ปลอบเด็ก และบทเด็กเล่น ซึ่งได้จากมณฑลพายัพ มณฑลอุดร ร้อยเอ็ด มณฑลนครศรีธรรมราช ปัตตานี ภูเก็ต และมณฑลกรุงเทพ
ปี พ.ศ.2509 กุหลาบ มัลลิกะมาศ ได้ศึกษารวบรวมคติชาวบ้าน ได้เพลงประกอบการละเล่น ของเด็ก 36 บท จุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมคติชาวบ้าน ไม่ได้ทาการวิเคราะห์
ปี พ.ศ. 2515 ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ ได้รวบรวมและจัดประเภทการละเล่นของไทยตามแบบ ของวอร์เรนอ โรเบอร์ตส์ (Warren E. Roderts) โดยแบ่งการละเล่นออกเป็น 16 ประเภท คือ
1.ประเภทการเล่นทาย 9.ประเภทกระโดดข้าม
2.ประเภทการนับ 10.ประเภทตลก
3.ประเภทการกระโดดเชือก 11.ประเภทกระดาษดินสอ
4.ประเภทซ่อนหา 12.ประเภทความแม่นยา
5.ประเภทการปรับ 13.ประเภทเกี้ยว
6.ประเภทการไล-ไล่จับ 14.ประเภทไม้
7.ประเภทคัดออก 15.ประเภทสาหรับเด็กเล็ก
8.ประเภทลูกบอล 16.ประเภทร้องเพลงระบา
ปี พ.ศ. 2520 สุรสิงห์สารวม ฉิมพะเนาว์ ได้ศึกษาเรื่องการละเล่นของเด็กล้านนาไทยใน อดีต ได้จัดประเภทของการละเล่นของเด็กตามที่ปรากฏในคาสู่ขวัญได้ 7 ประเภท คือ
1. การละเล่นโดยการเลียนแบบการทางานของผู้ใหญ่
2. การละเล่นโดยการเลียนแบบการประกอบอาชีพของผู้ใหญ่
3. การละเล่นโดยการเลียนแบบวิธีหาอาหารของผู้ใหญ่
4. การละเล่นเพื่อความเพลิดเพลินของตนเองตามลำพัง
5. การละเล่นโดยมีกติกา
6. การละเล่นกับเพื่อนๆ โดยไม่มีกติกา
7. การละเล่นแข่งขันโดยมีการพนัน