ลมประจำถิ่นในประเทศไทย (Local Wind)
หมายถึง ลมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ของช่วงปี ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย อาทิเช่น ลมว่าว / ลมข้าวเบา เป็นลมที่พัดมาจากทางทิศเหนือลงมายังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางทิศใต้ เป็นลมหนาวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต้นฤดูหนาวราวเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนนิยมเล่นว่าว จึงเรียกว่าลมว่าว ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าลมข้าวเบา เนื่องมาจากลมพัดผ่านมาในช่วงเวลาที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวชนิดหนึ่งในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง ลมตะเภา เป็นลมที่พัดจากอ่าวไทยไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเป็นลมที่พัดจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ ในช่วงกลางฤดูร้อน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนของทุกปี ลมตะเภาจะพัดแรงในเวลากลางวัน เนื่องจากได้รับอิทธิพบจากลมทะเลพัดเข้ามาช่วยเสริม ส่วนเวลากลางคืนจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อย เนื่องจากมีลมบกพัดต้านไว้ ในบางครั้งมักมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าลมตะเภาเป็นลมว่าว เนื่องจากเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนที่ลมตะเภาพัดผ่าน ผู้คนมักนิยมเล่นว่าวเช่นกัน
ลมสลาตัน / ลมเพชรหึง เป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มักเกิดในช่วงต้นของการเปลี่ยนฤดูกาล ช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเกิดพายุฝน หรือลมแรง ในบางครั้งเรียกว่าลมเพชรหึง ซึ่งเป็นลมพายุใหญ่ มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปในแต่ละท้องถิ่น ลมงวง / นาคเล่นน้ำ เป็นลักษณะของลมพายุหมุนที่เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายในเมฆฝน ในบางครั้งเราอาจเห็นเมฆซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงยาวลงมาจากฐานเมฆฝน สำหรับประเทศไทยพบลมชนิดนี้เกิดขึ้นในทะเลจึงมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "นาคเล่นน้ำ" ลมบ้าหมู เป็นลมที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มีทิศทางพัดหมุนวนเข็มนาฬิกา มักเกิดบริเวณอากาศร้อนจัด ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดการไหลเข้ามาแทนที่ของอากาศ เกิดมากในฤดูร้อน อากาศร้อนจัด
กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศเรียกว่า ลมใต้ เป็นต้น ในละติจูดต่ำไม่สามารถจะคำนวณหาความเร็วลม แต่ในละติจูดสูงสามารถคำนวณหาความเร็วลมได้