เทศกาล “บ๊ะจ่าง” (端午节 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงว)เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล “บ๊ะจ่าง” มาจากไหน ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน
เทศกาล “บ๊ะจ่าง ??” หรือ หรือเทศกาลไหว้ “ขนมจ้าง” เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามของปฏิทินจีน เรียกชื่อตามตำราว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า “จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า “ปักจั่ง“
เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ตํานานเทศกาลไหว้ขนมจ้าง เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘ ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่ มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า “คุกง้วน“ หรือ ชีหยวน หรือ จูหยวน , 屈原, Qu Yuan ( 340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง คุกง้วนจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน แต่ก็ถูกขุนนางกังฉินคอยใส่ร้ายป้ายสีต่อองค์ฮ่องเต้เสมอๆ