ทบทวนวรรณกรรม
บทสนทนาของการใช้ภาษามนุษย์ไม่ว่าจะเป็น พูด เขียน ร่วมทั้งการสื่อความรู้สึกท่าทีของผู้พูดจะมีการใช้คำอุทานเข้ามามีส่วนในการสื่อสารของบทสนทนาเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิจัยได้ให้ความสนใจที่จะศึกษาการใช้คำอุทานในรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้
1.4.1 งานวิจัยคำอุทานในภาษาจีน
ผลงานวิจัยด้าน การศึกษาข้อผิดพลาดการออกเสียงคำอุทานภาษาจีนของนักศึกษาไทย ผลงานของ หลิว เผยเจี๋ย (2007) งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การเปรียบเทียบการใช้คำอุทานของภาษาไทยและภาษาจีน เช่นคำว่า “啊(A)”、“吧(Ba)”、“吗(Ma)”、“嘛(Ma)”、“呢(Ne)”โดยการจัดทำแบบทดสอบ จากนั้นได้มีการทดสอบนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน จำนวน 52 คนทำให้สามารถสรุปข้อผิดพลาดได้ดังนี้ 1.จะเห็นได้ว่าคำอุทานในภาษาไทยกับภาษาจีนมีบางอย่างสอดคล้องกันและมีบางอย่างที่แตกต่างกัน 2. นักศึกษาไทยเกิดความสบสนในการเรียนคำอุทาน จากทฤษฎีการวิเคราะห์เปรียบเทียบสองภาษาเข้าด้วยกัน 3. จากผลการสำรวจพบว่า การใช้คำอุทานคำว่า “嘛(Ma)”ของนักศึกษาไทยค่อนข้างดี แต่คำอุทานคำว่า“啊(A)”、“吧(Ba)”、“吗(Ma)”、“呢(Ne)”ยังใช้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น นักศึกษาไทยควรเรียนรู้การใช้คำอุทานภาษาจีนในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาการเรียนภาษาจีนที่เพิ่มขึ้น