เคยได้ยินหลายๆ คนพูด เปรียบเทียบ ว่า โครงการเขื่อนแม่วงก์ คือการแลกป่า กับเขื่อน หรือเลือกระหว่างช่วยคนกับ ช่วยสัตว์ป่า
ในความเห็นของฉัััน สมการ โครงการเขื่อนแม่วงก์ ไม่ได้มีแค่ ป่า กับ เขื่อนเท่านั้น
ควรเป็นแบบนี้ ป่า + สัตว์ป่า + เงิน 13000 ล้าน = เขื่อนแม่วงก์
มาดูกันทีละตัวนะคะ
ป่า
นักการเมืองที่สนับสนุนเขื่อนแม่วงก์ ออกมาให้ความเห็นว่า ป่าบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมเป็นป่าเสื่อมโทรม หรือ น้ำท่วมผืนป่า แค่ ไม่ถึง หมื่นไร่ หรือ 2% ของป่าตะวันตกเท่านั้นเอง
จากการที่ลง พท. สำรวจ ดิฉันกลับพบว่า ป่ามีความสมบูรณ์มาก ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และขนาดต้นก็ไม่ใช่เล็กๆ แม้จะเคยผ่านการทำสัมปทานมาแล้ว แต่ในช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา ป่าได้กลับฟื้นตัวจนกลับมาอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งป่าสัก ที่รอดเหลือจากการตัดในอดีต ก็โตใหญ่ขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา
รวมทั้งขนาด พท. ป่าที่ถูกท่วม แม้อาจมองว่าไม่ได้มีขนาดกว้างใหญ่ แต่ป่าที่สมบูรณ์ ก็มีคุณค่าอนันต์ และมีความสำคัญมากมาย ยิ่งในภาวะที่ประเทศไทยเหลือป่าไม้ที่สมบูรณ์อยู่ไม่มากนัก การสร้างเขื่อน ป่าที่ถูกทำลายไม่ใช่เพียงป่าที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น ยังเป็นช่องทางให้เกิดการลุกล้ำ พท.ป่าเพิ่มขึ้น จากหลายๆเหตุปัจจัย เช่น การเข้ามาล่าสัตว์ การเข้ามาทำธุรกิจท่องเที่ยว การเข้ามาทำไร่ และการเข้ามาอยู่อาศััยของชาวบ้าน
สัตว์ป่า
เนื่องจากเป็นป่ารอยต่อกับทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีการอพยพของสัตว์ป่าเข้ามาอยู่จำนวนมาก ทั้ง เก้ง กวาง หมูป่า ฯลฯ สัตว์นักล่า พวกหมาใน และที่สำคัญคือ เสือโคร่ง ที่ตามเข้ามาล่า
การที่มีเกาะแก่ง และธารน้ำไหลตลอดปี ทำให้เป็นที่เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดในธรรมชาติอย่างดี
นอกจากนี้ การที่เป็นป่าพื้นราบ ทำให้เหมาะกับการอาศัยอยู่ของนกยูง จึงมีลานนกยูง ที่สถานที่เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ ออกลูกออกหลาน สร้างครอบครัวนกยูง แม้เดิมจะเป็นนกยูงที่เจ้าหน้าที่นำมาปล่อยไว้ แต่ในปัจจุบันได้ผสมกับนกยูงป่า ได้ลูกหลาน ในทริปนี้เราพบเจอกว่า 10 ตัวในธรรมชาติ
นกยูงไทย ในธรรมชาติ หน่วยแม่เรวา อช.แม่วงก์
บ้านของนกยูงเหลือน้อยมากในประเทศไทยแล้วคะ มันคงไม่ใช่ว่าที่ไหนก็ได้ ที่เอานกยูงไปปล่อย แล้วเขาจะออกลูกออกหลานได้ทุกที่ แต่สถานที่นี่มีความพิเศษ ที่เหมาะสมกับนกยูง เขาถึงได้แพร่พันธุ์ได้
แม้แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ แมลงต่างๆ เช่น แมลงปอ หลากหลายชนิด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสะอาดของแหล่งน้ำ ซึ่งป่าแม่วงก์เป็นต้นน้ำที่สำคัญของ จ. นครสวรรค์
เงิน 13000 ล้าน
มีหลายคนถามว่า ถ้าไม่สร้างเขื่อนแล้วจะทำอย่างไรให้ได้น้ำ เงิน 13000 ล้านนี้มากโขอยู่นะคะ ถ้าเราไม่สร้างเขื่อน เอาเงินจำนวนนี้ไปทำอะไรได้อย่างมากมาย นักวิชาการด้านน้ำของประเทศไทย คงไม่สิ้นปัญญาแน่นอน การที่โครงการเขื่อนแม่วงก์เคยถูกตีออกมา ถึง 3-4 ครั้ง เพื่อให้มาคิดหาวิธีจัดการน้ำแบบบูรณาการ ก็ยังดันทุลังเสนอเข้าไปอีก
ตัวแปรที่ 4 เขื่อน
เขื่อนแม่วงก์ เป็นเขื่อนที่ไม่ได้ใหญ่มาก ขนาดความจุเต็มที่ แค่ 250 ล้านลูกบาศก์ คิดง่ายๆ ว่าเล็กกว่าเขื่อนศรีนครินทร์ จ. กาญจนบุรี 4-5 เท่า มาดูเขื่อนในบริเวณใกล้เคียงอย่างเขื่อนทับเสลา ที่ก่อนสร้างก็คาดว่าจะได้น้ำเท่านั้นเท่านี้ แต่พอสร้างจริงๆ มีน้ำแห้งขอดเขื่อน เท่านี้เองในหน้าแล้ง ทำให้มองไปได้ว่า เขื่อนแม่วงก์ ถ้าสร้างก็คงจะได้น้ำไม่ได้ตามที่กรมชลประทานกล่าวอ้าง
น้ำในเขื่อนทับเสลา
ขอบคุณ ภาพจาก BG Bluehill
เท่ากับว่า อาจต้องเสียทั้งป่า เสียทั้งสัตว์ป่า เสียเงินจำนวนมาก แลกกับน้ำที่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย ทั้งการแก้เรื่องน้ำท่วม ที่เป็นที่ถกเถียงกัน โดยสรุปแล้วว่าช่วยได้น้อยมาก ประมาณ 2%สำหรับที่ราบภาคกลาง และ การได้น้ำมาใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งน้ำที่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้งได้ตามเป้าหมายที่ กรมชลประทานได้วางไว้
สู้เอาเงินที่น้อยกว่า มาทำฝาย ขุดบ่อ ทำแก้มลิง เก็บน้ำ ลดปัญหาน้ำท่วม น่าจะเป็นประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่า ได้เก็บป่าไว้เป็นที่เก็บน้ำตลอดชีวิต เป็นต้นน้ำของสายน้ำ เป็นที่อยู่ของนกยูง และสัตว์อีกนานับชนิด